• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2022-06-26 บทสนทนาจากเจ้าอาวาส

การเรียนคำสอนคือการเรียนเพื่อรู้จักพระเจ้า จะได้มีความรักและมีความเชื่อมั่นในพระเจ้าและพบแนวทางในการดำเนินชีวิต การเรียนคำสอนเพื่อกลับใจเป็นคริสตชนมีรูปแบบและวิธีการต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปยุคตามยุคสมัย ก่อนหน้านี้จะใช้วิธีการท่องจำ มีการตั้งคำถามและมีคำตอบที่จะต้องจำขึ้นใจ เช่น มีการตั้งคำถามว่าพระเจ้าเป็นใคร ศีลศักดิ์สิทธิ์หมายถึงอะไร บาปคืออะไรคำถามแบบนี้จะมีคำตอบชัดเจน ซึ่งนอกจากจะต้องจำคำตอบได้แล้วยังต้องพยายามเข้าใจความหมายของเรื่องราวที่ท่องจำนั้นด้วย สำหรับเด็กนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนคาทอลิกก็มักจะมีชั่วโมงเรียนคำสอน ซึ่งมีโอกาสที่จะเรียนรู้เรื่องเนื้อหาด้านคำสอน แต่ละแห่งก็ให้ความใส่ใจมากน้อยไม่เท่ากัน ตัวเด็กนักเรียนเองก็เช่นเดียวกัน เนื่องจากวิชาคำสอนไม่ได้นำเอาคะแนนจากการสอบไปใช้เพื่อการวัดผล วิชาคำสอนจึงดูเหมือนไม่ค่อยมีความสำคัญมากนัก
สำหรับเด็กนักเรียนที่ไม่ได้เรียนในโรงเรียนคาทอลิก ก็จะไม่มีโอกาสเรียนคำสอนในชั้นเรียน จะมีโอกาสเรียนคำสอนก็เป็นช่วงเวลาที่จะเตรียมตัวเพื่อรับศีลศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น โดยแต่ละวัดจะประกาศให้ทราบว่า เมื่อเด็กอยู่ในช่วงอายุที่กำหนด ก็ขอให้มาเรียนคำสอนเพื่อเตรียมตัวรับศีลมหาสนิทครั้งแรก เด็กที่โตกว่าจะเรียนเพื่อเตรียมตัวรับศีลกำลัง ซึ่งการสอนคำสอนแบบนี้ก็มักจะใช้ช่วงปิดภาคเรียน เรียนประมาณ 3-4 สัปดาห์ หลังจากเรียนคำสอนจบ ก็จะกำหนดวันเพื่อให้นักเรียนคำสอนได้รับศีลอภัยบาป ศีลมหาสนิท และศีลกำลัง หลังจากนั้น ก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีการเรียนคำสอนอีกต่อไป ความจริงที่เกิดขึ้นก็คือจะมีเด็กบางคน หลังจากการเรียนคำสอนจบลง ก็จะห่างหายไปจากการรับศีลอภัยบาปและศีลมหาสนิท รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการมาร่วมพิธีบูชามิสซา ซึ่งเรื่องนี้ต้องอาศัยบรรดาคุณพ่อคุณแม่จะช่วยดูแลและติดตาม เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดและที่สำคัญพ่อแม่เป็นผู้มีบทบาทอย่างมาก เป็นครูคำสอนคนสำคัญของลูกในการอบรมติดตามดูแลให้ลูกๆได้ปฏิบัติและการประพฤติตามเนื้อหาคำสอนต่อไป
มีข้อสังเกตว่าในช่วงนี้มีผู้ใหญ่ที่สนใจขอสมัครเรียนคำสอนมากขึ้น อาจเป็นผลที่เกิดจากการเสด็จเยือนประเทศไทยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส เป็นความประทับใจส่งผลให้บางคนแสวงหาอยากรู้จักพระสันตะปาปา ซึ่งทำให้อยากรู้จักเรื่องราวของศาสนาคริสต์ นำพาพวกเขาให้สนใจและติดต่อขอเรียนคำสอน เพื่อจะได้ศึกษาเรียนรู้อย่างจริงจัง ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนคำสอนของผู้ใหญ่ แม้จะพยายามจัดให้มีคำสอนทางสื่อออนไลน์ แต่ผลที่ได้ก็ต่างกัน เพราะการเรียนคำสอนในห้องเรียน ผู้เรียนจะมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ มีมิตรภาพและรับการแบ่งปันเรื่องราวของชีวิตที่จะทำให้เข้าใจความเชื่อ ได้เห็นและสัมผัสพระเจ้าในชีวิต มีคำอธิบายให้เข้าใจในเรื่องราวต่างๆ
เป็นความชื่นชมยินดีที่ปีนี้มีผู้สนใจแจ้งความจำนงอยากเรียนคำสอนจำนวนมากพอสมควรซึ่งจะเริ่มในสัปดาห์หน้าเป็นต้นไป ผู้สนใจส่วนใหญ่ก็มาจากครอบครัวที่ไม่ได้มีพื้นฐานความเชื่อมาก่อน เป็นผู้แสวงหาและพยายามศึกษาจากสื่อต่างๆ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคที่มีความเจริญทางด้านวัตถุและเทคโนโลยี แต่ก็มีคนจำนวนหนึ่งที่กำลังแสวงหาความหมายและคุณค่าของชีวิต ซึ่งความเจริญเหล่านั้นยังไม่มีคำตอบให้ มีบางคนที่ได้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้มีความเชื่อ อาจจะเป็นคู่ชีวิตที่ได้แต่งงานใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน จากแบบอย่างชีวิตของการเป็นคริสตชนของคู่ชีวิต ทำให้เกิดความสนใจอยากเรียนคำสอนอยากรู้จักและมีความเชื่อในพระเจ้า.

สวัสดี…พ่ออดิศักดิ์

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube