• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2022-10-16 บทสทนาจากเจ้าอาวาส

วันอังคารที่ผ่านมาเป็นวันระลึกถึงนักบุญยอห์นที่ 23 พระสันตะปาปา พระองค์ได้รับเลือกให้เป็นผู้ปกครองพระศาสนจักรระหว่างปีค.ศ 1958 ถึง 1963 ในช่วงเวลาที่พระองค์ทรงปกครองประศาสนจักรนี้ พระองค์ทรงกำหนดให้มีการประชุมครั้งสำคัญของพระศาสนจักร มีการเชิญพระสังฆราชจากทุกแห่งทั่วโลกเข้าร่วมการประชุม ซึ่งเรียกการประชุมนี้ว่าสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 เป็นการประชุมที่พระศาสนจักรเปิดรับฟังความคิดเห็นจากบรรดาพระสังฆราชและผู้แทนนำสู่การปรับ เปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของพระศาสนจักร ภารกิจสำคัญที่พระองค์ได้ทรงริเริ่มก็ดำเนินต่อไปและมีผลสรุปออกมาเป็นคำสอนด้านต่างๆ รวมทั้งสิ้น 16 เรื่อง
หากพี่น้องมีอายุในวัยผู้สูงอายุ ก็คงจะมีประสบการณ์และจำเหตุการณ์บางอย่างได้ เราเรียกประสบการณ์นั้นว่าเป็นช่วงก่อนวาติกัน พิธีกรรมเป็นการเปลี่ยนแปลงเรื่องแรกๆ เป็นผลจากการประชุมสภาสังคายนาครั้งนี้ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการในการร่วมพิธีกรรมของบรรดาคริสตชน การทำให้พิธีกรรมเป็นเรื่องราวที่เข้าใจได้ง่ายและเกี่ยวข้องกับชีวิตทุกคน ก่อนหน้านั้น พิธีกรรมต่างๆ จะใช้ภาษาลาตินเป็นหลัก มิสซาเป็นภาษาลาติน บทตอบรับบทสวดภาวนาของพระสงฆ์ก็เป็นภาษาลาติน พระสงฆ์ถวายบูชาโดยหันหน้าเข้าหาพระแท่นซึ่งตั้งอยู่ในสุดติดกับผนัง สัตบุรุษจึงมองเห็นเพียงด้านหลังของพระสงฆ์ ได้มีการเปลี่ยนไปใช้ภาษาท้องถิ่นในพิธีกรรม เพื่อบรรดาสัตบุรุษที่ได้เข้าร่วมในพิธีฯจะได้เข้าใจความหมาย พระแท่นบูชาที่เคยสร้างไว้ด้านในติดผนังก็ปรับให้เป็นศูนย์กลาง เพื่อพระสงฆ์จะได้ถวายมิสซาโดยหันหน้ามาทางสัตบุรุษ และสัตบุรุษก็จะสามารถร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระสงฆ์ในการร่วมถวายบูชามิสซา บทเพลงต่างๆที่เคยใช้เป็นภาษาละติน ให้ใช้ภาษาท้องถิ่น เริ่มมีการเขียนบทเพลงประกอบในพิธีกรรม เพื่อให้สัตบุรุษที่มาร่วมพิธีจะได้สามารถมีส่วนร่วมในการขับร้อง. เป็นการช่วยให้พิธีกรรมได้กลับกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้ร่วมพิธี การร่วมมิสซาของคนก่อนวาติกัน จึงมีการใช้คำว่าไปฟังมิสซา เพราะพวกเขาเพียงแค่ไปนั่งฟัง ซึ่งไม่เข้าใจความหมาย แต่ในสมัยของเรา พระศาสนจักรเรียกร้องและเชิญชวนทุกคนให้มีส่วนร่วม เราจึงไม่ใช่การมานั่งฟังมิสซา แต่เป็นการมาร่วมพิธีถวายบูชามิสซา การมาร่วมจึงหมายถึงการฟังด้วยความเข้าใจ การสวดภาวนาวอนขอส่วนตัวและสวดเพื่อส่วนรวม การตอบรับบทภาวนากับพระสงฆ์ การขับร้องบทเพลงต่างๆ ที่เป็นไปเพื่อการเพิ่มพูนความหมายและคุณค่าของพิธี พี่น้องคงจะเข้าใจความหมายเรื่องราวของการร่วมพิธีกรรมโดยเฉพาะ การร่วมพิธีบูชามิสซาซึ่งทุกคนต่างก็มีบทบาทของตน การจัดบทเพลงให้เหมาะสม การนำขับร้องซึ่งจะต้องคำนึงถึงบรรดาสัตบุรุษให้สามารถติดตามและนำพาให้ทุกคนได้ร่วมขับร้องบทเพลงไปด้วยกัน รวมทั้งการทำหน้าที่ผู้อ่านพระคัมภีร์เป็นการแสดงออกการเป็นฆราวาสที่มีส่วนร่วมช่วยทำให้พิธีกรรมเรียบร้อยงดงามและมีคุณค่าในชีวิต
บทบาทของฆราวาสเป็นประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่มาจากการประชุมสังคายนาวาติกันบทบาทหน้าที่ในการเป็นผู้แพร่ธรรม การดำเนินชีวิตฆราวาสในโลกปัจจุบัน เป็นเรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นในพระศาสนจักร เพราะก่อนหน้านั้นบทบาทการประกาศเทศน์สอน เป็นหน้าที่ของบรรดาพระสงฆ์หรือนักบวช แต่มาถึงยุคของเรานี้ พระศาสนจักรถือว่าเรื่องการประกาศข่าวดี การประกาศความเชื่อ การสอนเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้า เป็นบทบาทหน้าที่ของคริสตชนฆราวาสทุกคนด้วย ทำให้คิดถึงช่วงเวลาที่พี่น้องมารับการอบรมเพื่อเตรียมเข้าสู่การแต่งงาน สำหรับคู่แต่งงานที่มีคู่ชีวิตนับถือศาสนาอื่น ฝ่ายที่เป็นคาทอลิกจะให้คำมั่นสัญญาว่า เมื่อแต่งงานไปแล้ว ตนเองจะยังคงซื่อสัตย์ต่อความเชื่อคาทอลิก พยายามขจัดอุปสรรคต่างๆที่อาจทำให้เสียความเชื่อคาทอลิก ทั้งยังสัญญาว่าจะพยายามให้ลูกนั้นได้รับศีลล้างบาปและอบรมแบบคาทอลิก นี่คือบทบาทของคริสตชนฆราวาสของพี่น้องเริ่มต้นจากครอบครัว ที่ไม่มีใครสามารถทำทดแทนได้ หากทุกคนพยายามทำตามคำมั่นที่ให้ไว้ การเข้าสู่ชีวิตแต่งงาน สร้างครอบครัว ด้วยพื้นฐานความเชื่อของคริสตชนที่เข้มแข็ง ทุกครอบครัวพยายามช่วยกันปลูกฝังความเชื่อส่งต่อไปยังลูกๆ ด้วยการปฏิบัติหน้าที่การเป็นคริสตชนฆราวาสที่ดีคนหนึ่งของพระศาสนจักร ก็พอจะคาดหวังได้ว่า พระศาสนจักรจะแผ่ขยายและเติบโต เริ่มจากลูก และจากคู่ชีวิตที่ได้มองเห็น ได้สัมผัสประสบการณ์ชีวิตจริงของผู้ที่มีความเชื่อ ที่สุดเขาก็จะตอบรับ และยอมรับความเชื่อในพระเจ้า
บทบาทคริสตชนในโลกคงมีหลายมิติและหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับเวลา สถานที่และโอกาสในชีวิตของพี่น้องทุกคน หากเราได้ช่วยกันเพิ่มพูนพระพรความเชื่อในตนเอง ตระหนักและยอมรับพันธกิจของพระที่ประทับอยู่ พระเจ้าทรงเป็นพลังผลักดัน เพื่อให้เราทุกคนเป็นประจักษ์พยานการเป็นธรรมฑูตด้วยความดีงามและความรักในชีวิต เป็นแบบอย่างดี เป็นการยอมรับ เป็นความประทับใจ จะพาไปสู่การกลับใจผู้คนรอบข้าง…

สวัสดี…พ่ออดิศักดิ์

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube