• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2022-12-11 ข้อคิดดีๆ

บทอ่านจากบทเทศน์ โดยนั กบุญออกัสติน พระสังฆราช
ยอห์นเป็นเสียงและพระคริสตเจ้าเป็นพระวจนาตถ์

ยอห์นเป็นเสียง แต่พระคริสตเจ้าเป็นพระวจนาตถ์ “ผู้ได้ทรงดำรงอยู่ตั้งแต่แรกเริ่ม” ยอห์นเป็นเสียงที่คงอยู่ชั่วคราว พระคริสตเจ้าทรงเป็นพระวจนาตถ์ผู้ทรงดำรงอยู่ตลอดกาล ตั้งแต่แรกเริ่ม
ลบถ้อยคำและความหมายออกเสีย เสียงจะเป็นอะไร หากไม่มีความหมาย ก็เป็นแต่เสียงอึกทึก เสียงที่ไม่มีคำพูดกระทบหู ไม่ทำให้จิตใจเจริญขึ้น
อย่างไรก็ดี ให้เราสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อเราเริ่มสร้างความคิดในจิตใจ เมื่อข้าพเจ้าคิดว่าจะพูดอะไร คำพูดและข่าวสารก็อยู่ในจิตใจแล้ว เมื่อข้าพเจ้าต้องการพูดกับท่าน ข้าพเจ้าก็หาทางที่จะแบ่งปันสิ่งที่มีอยู่ในจิตใจของข้าพเจ้าให้ท่าน
ในการที่จะหาทางสื่อข่าวสารนี้ไปยังท่าน เพื่อให้ถ้อยคำที่อยู่ในจิตใจของข้าพเจ้าได้เข้าไปในจิตใจของท่านด้วย ข้าพเจ้าก็เปล่งเสียงพูดกับท่าน ความดังของเสียงสื่อความหมายของคำพูดไปยังท่านแล้วก็ผ่านไป คำพูดซึ่งเสียงนำไปให้ท่าน บัดนี้อยู่ในจิตใจท่านแล้ว และก็ยังคงอยู่ในจิตใจของข้าพเจ้าด้วย
เมื่อถ้อยคำมาถึงท่าน ดูเหมือนเสียงจะกล่าวว่า “พระวจนาตถ์จะต้องยิ่งใหญ่ขึ้น และข้าพเจ้าต้องด้อยลง” ไม่ใช่หรือ ในการรับใช้ถ้อยคำเสียงดังก้องกังวานขึ้นให้ได้ยินไปทั่วแล้วก็ผ่านไป คล้ายกับเสียงจะกล่าวว่า “ความยินดีของข้าพเจ้าครบบริบูรณ์แล้ว” เราจงจดจำถ้อยคำนี้ไว้ อย่าปล่อยให้คำพูดที่หยั่งลึกลงในจิตใจเราเลือนหายไปเป็นอันขาด
ท่านอยากพิสูจน์ไหมว่าเสียงผ่านไป แต่พระวจนาตถ์ของพระเจ้าดำรงอยู่ พิธีล้างของท่านยอห์นเวลานี้อยู่ที่ไหน พิธีล้างของท่านบรรลุจุดประสงค์และผ่านพ้นไปแล้ว บัดนี้ เราประกอบจารีตพิธีศีลล้างบาปของพระคริสตเจ้า เราทุกคนเชื่อในพระคริสตเจ้า และหวังจะได้รับความรอดในพระองค์ นี่คือข่าวสารที่เสียงได้ร้องประกาศ
เนื่องจากเป็นการยากที่จะแยกถ้อยคำออกจากเสียง แม้ยอห์นเองก็ยังมีผู้เข้าใจว่าเป็นพระคริสตเจ้า มีคนคิดว่าเสียงเป็นพระวจนาตถ์ แต่เสียงรู้ว่าตนเองเป็นอะไร และระวังตัวไม่ทำผิดต่อพระวจนาตถ์ “ข้าพเจ้าไม่ใช่พระคริสตเจ้า” ท่านกล่าว “ไม่ใช่ เอลียาห์หรือประกาศก” และมีคนถามว่า “แล้วท่านเป็นใครเล่า” ยอห์นตอบ “ข้าพเจ้าเป็นเสียงร้องในถิ่นกันดารว่า จงเตรียมทางเพื่อพระเจ้า”
“เสียงร้องในถิ่นกันดาร” เป็นเสียงที่ทำลายความเงียบ “จงเตรียมทางเพื่อพระเจ้า” ท่านกล่าวเหมือนดังจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าป่าวประกาศก็เพื่อจะนำพระองค์เข้ามาในจิตใจของพวกท่าน แต่พระองค์ไม่ยอมเสด็จเข้าไปในที่ที่ข้าพเจ้านำไป เว้นแต่พวกท่านจะเตรียมทางเพื่อต้อนรับพระองค์
“เตรียมทาง” หมายถึงภาวนาอย่างดี ซึ่งหมายความว่าคิดถึงตัวเองด้วยใจสุภาพ เราควรจะถือตามแบบอย่างของท่านยอห์น บัปติสต์ คนอื่นคิดว่าท่านเป็นพระคริสตเจ้า แต่ท่านประกาศว่าท่านไม่ได้เป็นดังที่พวกเขาคิด ท่านไม่ได้ฉวยโอกาสขณะที่ผู้อื่นเข้าใจผิด เพื่อแสวงหาเกียรติยศให้ตัวเอง
หากท่านจะกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเป็นพระคริสตเจ้า” ท่านจะเข้าใจได้ว่าพวกเขาพร้อมที่จะเชื่อ เพราะพวกเขาเชื่อว่าท่านเป็นพระคริสตเจ้าก่อนที่ท่านจะบอกเสียอีก แต่ท่านไม่ได้กล่าวเช่นนั้น ท่านรู้ว่าท่านเป็นใคร ท่านแสดงตัวอย่างเปิดเผยว่าท่านเป็นใคร ท่านถ่อมตน
ท่านได้เห็นแล้วว่าความรอดของท่านอยู่ที่ไหน ท่านเข้าใจดีว่าท่านเป็นตะเกียง และท่านกลัวว่าตะเกียงจะดับ เพราะกระแสลมแห่งความจองหอง…

เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า เป็นช่วงเวลาแห่งการรอคอยและความหวัง

  • เรารอคอยพระคริสตเจ้า เพราะเรามั่นใจว่า พระองค์จะมาปลุกมาความสิ้นหวังของเราให้ตื่นขึ้น และประทานความหวังใหม่ให้แก่เรา
  • เราหวังในพระคริสตเจ้า เพราะเรามั่นใจว่า ทรงเป็นพระผู้ช่วยเราให้รอด “จากความมืด จากความตาย และจากสิ่งที่ครอบงำ และมีอิทธิพลครอบครองจิตใจของเราอยู่”
    ปัจจุบัน โลกพาเราเดินเข้าสู่ “วิถีแห่งความง่าย” โดยมี “วัตถุ” ควักมือเรียกเรา เชิญชวนเราให้เข้าสู่วงการบริโภคได้อย่างง่ายๆ ปรากฎผลเป็นความสะดวกสบาย และอนุมานว่าเป็นความสุขที่เกิดขึ้นได้เร็วโดยไม่ต้องรอคอย ตรงข้ามกับ “วิถีแห่งความเรียบง่าย” ที่เป็น “องค์พระผู้เป็นเจ้า” พระองค์เองที่ยกมือเชื้อเชิญเราให้เข้าสู่ความสุขเที่ยงแท้นิรันดร ที่ไม่ต้องอนุมาน แต่….ต้องรอคอยด้วยความอดทนเหมือนชาวนา ที่รอผลมีค่าจากแผ่นดินด้วยความพากเพียร
    องค์พระผู้เป็นเจ้า ผู้ที่เรารอคอย พระองค์ทรงลงมาเพื่อที่จะชี้นำเรา โดยให้ชีวิตของพระองค์เป็นแบบฉบับ วิถีของพระองค์ไม่ได้ปรากฎผลเป็นความสะดวกสบาย แต่มักจะท้าทายเราให้ต้องเผชิญกับความยากลำบากที่เราต้องอดทน
    “ผู้ที่ไม่แคลงใจในเราย่อมเป็นสุข”
    พี่น้อง สัปดาห์นี้พระวรสารเล่าถึงยอห์นบัปติสอีกครั้ง ท่านให้คนไปถามพระเยซูเจ้าว่า ท่านคือผู้ที่จะมาหรือว่าเราจะต้องรอคอยใครอีก?
    พระเยซูเจ้า ไม่ได้ตอบกลับไปว่า ใช่หรือไม่ใช่ แต่พระองค์ทรงกระทำ เพื่อให้ผลปรากฎเป็นที่ประจักษ์และยืนยันว่าพระองค์คือผู้นั้นและการรอคอยสิ้นสุดแล้ว เมื่อท่านได้เห็นและได้ยินสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น
    นั่นคือ….นัยน์ตาของคนตาบอดจะมองเห็น, หูของคนหูหนวกจะได้ยิน, คนง่อยจะกระโดดได้อย่างกวาง, คนโรคเรื้อนหายจากโรค, คนใบ้จะร้องตะโกนด้วยความยินดี, คนตายกลับคืนชีพ, คนยากจนได้รับการประกาศข่าวดี, ความชื่นชมยินดีจะอยู่บนศีรษะของเขาตลอดไป, ความชื่นบานและความยินดีจะติดตามเขา, ความโศกเศร้าและการถอนใจจะหนีไปจากเขา
    พี่น้อง พระเจ้าที่เรารอคอย และไม่มีวันที่จะทำให้เราเสียใจและสิ้นหวัง เพียงแต่วิถีของพระองค์แตกต่างจากวิถีที่โลกนำเสนอให้กับเรา แต่จะนำความสุขแท้อย่างแน่นอนมาสู่ชีวิตของเรา
    “ผู้ที่ไม่แคลงใจในเราย่อมเป็นสุข”
    พี่น้อง การเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้านอกจากจะเป็นช่วงเวลาที่เราคริสตชนทุกคนต่างรอคอยด้วยความหวังแล้ว เราเองผู้ที่เป็นศิษย์ติดตามพระองค์ สามารถเป็นความรักและความหวังให้กับพี่น้องรอบข้างเราที่กำลังรอคอยองค์พระผู้เป็นเจ้าได้เช่นเดียวกัน … โดย…
  • เลือกความเรียบง่ายเป็นวิถีชีวิตของเรา
  • เป็นนัยน์ตาให้กับคนที่ตาบอด เป็นแสงสว่างให้กับคนที่สายตาพร่ามัว เพื่อเขาจะได้เดินในเส้นทางที่ไม่ผิดหลง
  • เป็นหู ให้กับคนหูหนวก ให้เขาได้ยินเสียงเพลงที่ไพเราะ คำพูดที่รื่นหู พระวาจาของพระเจ้าที่ตรัสถึง
  • เป็นไม้เท้าประคองแขนขาให้คนง่อยยืนหยัดเดินได้อย่างช้าๆ ชื่นชมความสวยงามระหว่างทาง
  • เป็นผ้าพันบาดแผล ให้กับคนโรคเรื้อน เยียวยาจิตใจที่ท้อแท้ให้หายดี
  • เป็นเสียง และคำพูดให้กับคนใบ้ ในยามที่ต้องต่อสู้กับความอยุติธรรม
  • เคียงข้างญาติพี่น้องที่ต้องเผชิญกับความเศร้าโศกและการสูญเสีย เมื่อความตายมาพรากคนสำคัญในชีวิตไป
  • ให้สิ่งที่เรามี แม้น้อยนิด เป็นการเกื้อหนุน ค้ำจุนคนยากจนให้ได้รับโอกาส
    พี่น้อง สิ่งที่พ่อยกตัวอย่างมาข้างต้นนี้ เป็นเพียงส่วนหนี่งที่เราผู้เป็นศิษย์ติดตามองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้เรียบง่ายทำได้ จงทำสิ่งที่แตกต่างจากสิ่งที่โลกนำเสนอให้กับเราเถิด เพราะพระเจ้าของเราทรงเป็นแบบฉบับในสิ่งเล็กๆ เหล่านี้
  • อย่าบ่นนินทากัน
  • จงทำให้มือที่อ่อนแอให้แข็งแรงขึ้น
  • จงทำให้หัวเข่าที่ซวนเซมีความมั่นคง
  • จงทำจิตใจให้เข้มแข็ง
  • กล่าวกับคนที่ท้อแม้ว่า “จงมานะเถิด อย่ากลัวเลย”
    เพราะ….”ผู้ที่ไม่แคลงใจในเราย่อมเป็นสุข”
    ขอพระเจ้าอวยพระพร…

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube