• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2023-01-22 ข้อคิดดีๆ

บทอ่านจากธรรมนูญเรื่องพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2
พระคริสตเจ้าสถิตในพระศาสนจักรของพระองค์

พระคริสตเจ้าสถิตในพระศาสนจักรของพระองค์เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาประกอบพิธีกรรม พระองค์สถิตในเครื่องบูชาในพิธีบูชามิสซา ในตัวบุคคลของศาสนบริกร (เป็นพระคริสตเจ้าองค์เดียวกับที่แต่ก่อนได้ทรงถวายพระองค์เองบนไม้กางเขน และบัดนี้ทรงถวายโดยอาศัยศาสนบริกร) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระองค์สถิตอยู่ใต้รูปปรากฏของศีลมหาสนิท พระองค์สถิตอยู่ในศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ด้วยพระฤทธานุภาพยิ่งใหญ่ของพระองค์ จนว่าเมื่อใครคนหนึ่งทำพิธีล้างบาป เป็นพระองค์เองที่โปรดศีลนั้น พระองค์สถิตอยู่ในพระวาจาของพระองค์ เพราะเป็นพระองค์เองที่ตรัส เมื่อเราอ่านพระคัมภีร์ และที่สุดพระองค์ประทับอยู่เมื่อพระศาสนจักรอธิษฐานภาวนาและขับร้อง เพราะพระองค์เองได้ทรงสัญญาว่า “ที่ใดมีคนสองสามคนประชุมกันในนามของเรา เราจะอยู่ที่นั่นท่ามกลางพวกเขา”
ที่จริง พระคริสตเจ้าทรงให้พระศาสนจักรมีส่วนร่วมกับพระองค์เสมอในการประกอบพระราชกิจอันใหญ่ยิ่งนี้ ซึ่งเป็นภารกิจที่ถวายพระสิริรุ่งโรจน์แด่พระเป็นเจ้าอย่างสมบูรณ์และทำให้มนุษย์ศักดิ์สิทธิ์ เพราะพระศาสนจักรเป็นเจ้าสาวสุดที่รักซึ่งร้องหาองค์พระผู้เป็นเจ้า และถวายนมัสการพระบิดาเจ้าผู้สถิตนิรันดรโดยทางพระองค์
ดังนั้น จึงเป็นการถูกต้องที่จะถือว่าพิธีกรรมเป็นการปฏิบัติหน้าที่สงฆ์ของพระเยซูคริสตเจ้า ในพิธีกรรม มนุษย์ได้รับความศักดิ์สิทธิ์อาศัยหมายสำคัญที่เห็นได้และมีผลตรงความหมายสำคัญนั้น บ่งบอกถึงพระกายทิพย์ของพระเยซูคริสตเจ้าซึ่งเป็นผู้ประกอบประชาคารวกิจทั้งหมด กล่าวคือ พระองค์ผู้ทรงเป็นศีรษะและบรรดาผู้เป็นอวัยวะของพระองค์
ดังนั้น การประกอบพิธีกรรมทุกอย่างเป็นกิจการศักดิ์สิทธิ์ดีเด่นกว่ากิจการอื่นๆ ทั้งปวง เนื่องจากเป็นกิจการของพระคริสตเจ้า สงฆ์สูงสุด และพระกายของพระองค์ คือพระศาสนจักรจึงไม่มีกิจการอื่นใดของพระศาสนจักรเสมอเหมือนในด้านประสิทธิภาพ
การร่วมในพิธีกรรมที่ประกอบบนแผ่นดินนี้ เรามีส่วนในการลิ้มรสล่วงหน้าในพิธีกรรมแห่งสวรรค์ซึ่งประกอบในนครเยรูซาเล็มศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นจุดหมายการเดินทางของเราในการจาริกแสวงบุญ ในนครเยรูซาเล็มนี้พระคริสตเจ้าประทับเบื้องขวาพระเป็นเจ้า ในฐานะศาสนบริกรแห่งสักการสถานและพลับพลาแท้จริง เราขับร้องเพลงสรรเสริญพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า พร้อมกับบรรดานักรบในกองทัพสวรรค์ เมื่อเราแสดงความนับถือบรรดานักบุญที่ล่วงลับไปแล้ว เราก็หวังว่าจะได้ร่วมความสุข และมิตรภาพกับท่าน “เรารอคอยพระผู้ไถ่ พระเยซูคริสตเจ้าพระเจ้าของเรา จนกว่าพระองค์ผู้ทรงเป็นชีวิตของเราจะปรากฏมา แล้วเราก็จะปรากฏในสิริรุ่งโรจน์กับพระองค์ด้วย
ตามประเพณีอันสืบเนื่องมาจากบรรดาอัครสาวก และมีต้นกำเนิดมาจากวันที่พระคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนม์ชีพ พระศาสนจักรฉลองธรรมล้ำลึกปัสกาทุกๆ แปดวันซึ่งเรียกอย่างถูกต้องว่า วันพระเจ้าหรือวันอาทิตย์ ในวันนั้นสัตบุรุษต้องมาประชุมกันเพื่อฟังพระวาจาของพระเป็นเจ้าและร่วมในพิธีสักการบูชาขอบพระคุณ จะได้คิดถึงการรับทรมาน การกลับคืนพระชนม์ชีพ และการรับพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเยซูเจ้าและขอบพระคุณพระเป็นเจ้าซึ่ง “ได้ทำให้เรากลับมีชีวิตใหม่อาศัยการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูคริสตเจ้าจากบรรดาผู้ตาย” เพราะฉะนั้น วันพระเจ้าจึงเป็นวันฉลอง…
พี่น้องที่รัก วันนี้ พระเยซูเจ้า ทรงเริ่มประกาศเทศนา ด้วยถ้อยคำที่แสดงถึงเป้าหมายหลักที่สำคัญของการเสด็จมาของพระองค์ คือ จงกลับใจเถิด เพราะอาณาจักรสวรรค์อยู่ใกล้แล้ว
อาณาจักรสวรรค์…. เป็น “ข่าวดี”

  • ดินแดนที่ซึ่งประชาชนที่จมอยู่ในความมืด ได้เห็นความสว่างยิ่งใหญ่
  • ดินแดนที่ซึ่งแสงสว่างได้ส่องขึ้นมาเหนือผู้ที่อาศัยอยู่ในดินแดนและในเงาแห่งความตาย
    อาณาจักรสวรรค์ คือ ความหวังใหม่ ยังรวมถึง องค์พระเยซูเจ้าเอง ที่เป็น ความหวังใหม่ สำหรับชีวิตของเรา และบัดนี้ได้มาถึงและอยู่ท่ามกลางเราแล้ว
    พระวรสารกล่าวถึงพันธกิจหลักขององค์พระเยซูเจ้า และทรงเริ่มต้นโดยมีเป้าหมาย พร้อมทั้งให้แนวทางที่ชัดเจนสำหรับเราทุกคนเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายนั้นไปพร้อมๆ กันกับพระองค์ แนวทางนั้น คือ “การกลับใจ”
    พระองค์พูดชัด ว่า “จงกลับใจ” และ จงให้ตัวอย่างของการกลับใจแก่เราผ่าน สานุศิษย์ 4 คนแรกที่พระองค์ทรงเรียก
    ซีโมนเปโตร อันดรูว์ ยากอบบุครของเศเบดี และ ยอห์นน้องชาย
    ชาย 4 คนนี้ ได้ตอบรับการเรียก โดย…
    -ทิ้งแหไว้และตามไปทันที
    -ทิ้งเรือและบิดา แล้วตามพระองค์ไป
    การกลับใจ คือ การทิ้งและตามพระองค์ไปทันที
    ข้อคิดประการแรก
  • พระเยซูเจ้า ไม่ว่าจะทรงทำอะไร ทรงเริ่มต้นด้วยเป้าหมายที่ชัดเจนเสมอ คือ เพื่อพระอาณาสวรรค์ และ ทรงสร้างอาณาจักรสวรรค์นั้นด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง
    ประการที่สอง พระเยซูเจ้าทรงทำงานเป็นทีม
    ทรงเรียกผูัที่ทรงเห็นเหมาะสม มาเจ้าร่วมเป็นทีมเดียวกันกับพระองค์ ผู้ที่ถูกเรียกจึงต้องกลับใจก่อน คือ ต้องทิ้งและติดตาม
    พี่น้องที่รัก พระเจ้าทรงเรียกเราทุุกคนและทุกวัน ให้มาเป็นทีมเดียวกันกับพระองค์ มาเป็นข่าวดีให้กับคนรอบข้าง ขอให้เราเป็นกลุ่มแรกที่กลับใจ เป็นกลุ่มแรกที่ทิ้งอดีตและติดตามพระองค์ในทุกๆวัน จนตลอดชีวิตเถิด เพื่อให้อาณาจักรสวรรค์ของพระเจ้า ได้ปรากฎท่ามกลางเรา และเป็นจริง
    ขอพระเจ้าอวยพระพร…

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube