• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2024-26-30 ข้อคิดดีๆ

ทำไมจึงสมโภชนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโลวันเดียวกัน?
ท่านทั้งสองเป็นบุคคลสำคัญ เป็นเสาหลักของพระศาสนจักรยุคแรกเริ่ม นักบุญเปโตรเป็นหนึ่งในอัครสาวกสิบสองคน เป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ส่วนนักบุญเปาโลนั้นได้รับนามว่าเป็นอัครสาวกของคนต่างศาสนา แม้ว่าท่านไม่ได้อยู่กับพระเยซูเจ้าในขณะที่พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่บนโลกนี้ แต่ท่านมีบทบาทมากในการก่อร่างสร้างพระศาสนจักรยุคแรกเริ่ม หนังสือ 13 เล่มจาก 27 เล่มของพันธสัญญาใหม่เป็นชื่อของนักบุญเปาโล
ท่านทั้งสองแตกต่างกันมาก ทั้งภูมิหลัง บุคลิก ประสบการณ์ จนกระทั่งความตาย แต่สิ่งที่เหมือนกันคือทั้งสองเป็นผู้ประกาศข่าวดีเรื่องพระคริสตเจ้าอย่างร้อนรน นักบุญเปโตรเป็นผู้อภิบาลคริสตชน ส่วนนักบุญเปาโลเป็นมิชชันนารี ท่านทั้งสองเติมเต็มภารกิจของกันและกัน และทั้งสองจบชีวิตด้วยการยืนยันความเชื่อ
ทั้งนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโลได้พลีชีวิตเพื่อยืนยันความเชื่อในยุคที่มีการเบียดเบียนคริสตชนอย่างรุนแรง (ราวปี 64-67) ช่วงสมัยจักรพรรดิเนโร เคยมีธรรมประเพณีดั้งเดิมกล่าวว่าทั้งสองพลีชีพเป็นมรณสักขีในวันเดียวกัน นักบุญเปโตรโดยการตรึงกางเขนเอาหัวลง ส่วนนักบุญเปาโลถูกตัดศีรษะ (ซึ่งค่อนข้างมั่นใจได้ว่าเป็นเพียงตำนานมากกว่าประวัติศาสตร์)
คริสตชนเคารพท่านทั้งสอง และแสดงออกมาผ่านทางงานศิลปะอย่างภาพวาดท่านนักบุญเปโตรและเปาโลกอดทักทายกันก่อนที่จะถูกแยกไปประหารชีวิตคนละที่
ส่วนการฉลองท่านทั้งสองในวันเดียวกันนั้น น่าจะมาจากการให้ความหมายใหม่กับการฉลองโรมูลุสและเรมุสผู้ก่อตั้งกรุงโรม ซึ่งถือว่าเป็นการฉลองของคนต่างศาสนา เปลี่ยนเป็นการฉลองนักบุญเปโตรและเปาโลผู้ก่อตั้งกรุงโรมใหม่นั่นคือพระศาสนจักร
นักบุญออกัสตินกล่าวถึงวันฉลองนี้ว่า แม้จะเป็นวันเดียวที่ฉลองสองอัครสาวก แต่อันที่จริงเราฉลองความเชื่อหนึ่งเดียวในพระคริสตเจ้า ซึ่งบอกกับเราคริสตชนว่าไม่ว่าเราจะเป็นใคร มีฐานะอะไร มีภูมิหลังอย่างไร ประสบการณ์ชีวิตเป็นอย่างไร เรามีความเชื่อหนึ่งเดียวกันที่ตั้งมั่นอยู่บนรากฐานของท่านทั้งสอง เรามีหน้าที่ประกาศข่าวดีไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม
ในประเทศไทย สภาพระสังฆราชคาทอลิกฯ ได้เลื่อนวันสมโภชนักบุญเปโตรและเปาโลมาเป็นวันอาทิตย์หลังจากวันที่ 29 มิถุนายนเพื่อให้คริสตชนได้ร่วมสมโภชวันสำคัญนี้ และภาวนาเพื่อประเทศไทยของเราในฐานะที่ท่านทั้งสองเป็นรากฐานของพระศาสนจักรสากล ให้งานแพร่ธรรมในประเทศของเราบังเกิดผล
นอกเหนือจากวันสมโภชนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล (29 มิถุนายน) แล้ว ท่านนักบุญทั้งสองยังมีวันฉลองแยกออกมาต่างหากคือวันฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตร (22 กุมภาพันธ์) และวันฉลองนักบุญเปาโลกลับใจ (25 มกราคม)

..<ลาซารัส>..

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube