• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2025-02-23 บทสนทนาจากเจ้าอาวาส

ในวันอาทิตย์หน้าจะมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ของเรา คือการเข้ารับตำแหน่งพระอัครสังฆราชของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ซึ่งจัดขึ้นในพิธีบูชามิสซาเวลาเย็นเพื่อบรรดาพระสงฆ์ที่ทำหน้าที่ตามวัดต่างๆ และพี่น้องสัตบุรุษจะสามารถมาร่วมพิธีได้ ในระหว่างปีที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่เปลี่ยนผ่านผู้ทำหน้าที่เป็นพระสังฆราชในสังฆมณฑลต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางที่พระศาสนจักรได้กำหนดไว้ บางสังฆมณฑลพระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งพระสงฆ์ ซึ่งจะมีพิธีอภิเษกให้เป็นพระสังฆราช เพื่อจะมีอำนาจเต็มในการทำหน้าที่ปกครองอภิบาลในสังฆมณฑล และก็มีบางสังฆมณฑลที่พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งผู้เป็นพระสังฆราชแล้ว อย่างเช่นที่เป็นไปในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ทรงแต่งตั้งพระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ ซึ่งเป็นพระสังฆราชปกครองสังฆมณฑลเชียงใหม่ ให้มาทำหน้าที่เป็น พระอัครสังฆราชของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ
ส่วนสำคัญในพิธีการเข้ารับตำแหน่งก็คือ การตอบรับการแต่งตั้งของพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นเครื่องหมายถึงการที่พระสันตะปาปาทรงมอบหมายให้ทำหน้าที่ปกครองเขตสังฆมณฑลที่กำหนด สัญลักษณ์ที่สำคัญที่เราเห็นเสมอก็คือไม้เท้าพระสังฆราช มีความหมายถึงอำนาจในการปกครอง พระสังฆราชจะถือไม้เท้า เพื่อเป็นเครื่องหมายถึงการเป็นผู้มีอำนาจเต็มในเขตปกครองของตน สัญลักษณ์อีกประการหนึ่งก็คือเก้าอี้นั่ง หรือใช้คำว่า “อาสนะ” ในทุกสังฆมณฑลจะมีวัดที่เรียกว่าอาสนวิหารหรือวัดของพระสังฆราช ซึ่งจะมีอาสนะของพระสังฆราชตั้งอยู่ หมายถึงการมีอำนาจในการที่สอน วัดของพระสังฆราชจะถูกเรียกว่าอาสนวิหาร
ทุกสังฆมณฑล พระสังฆราชมีหน้าที่เป็นผู้แทนของพระเยซูเจ้าในภารกิจ 3 ประการ คือการเป็นสงฆ์ ประกาศก และกษัตริย์ ด้วยการบันดาลความศักดิ์สิทธิ์ เป็นผู้สอนและเป็นผู้ปกครอง ซึ่งพระสังฆราชจะทำหน้าที่ต่างๆ โดยผ่านทางคณะสงฆ์ บรรดาพระสงฆ์จึงปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นผู้ช่วยงานของพระสังฆราช ในการเข้ารับตำแหน่งฯ จึงเป็นเวลาที่บรรดาพระสงฆ์ นักบวชชายหญิงและพี่น้องคริสตชนได้มาร่วมแสดงความยินดี ต้อนรับและพร้อมที่จะร่วมงานกับพระสังฆราชของตน
ตำแหน่งพระสังฆราชหมายถึงประมุขสูงสุดในเขตปกครอง สำหรับอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ พระอัครสังฆราชยังเป็นตัวแทนของศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก เราจะเห็นตัวแทนของศาสนาต่างๆ มาร่วมแสดงความยินดี เป็นมิตรภาพ ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ที่พี่น้องต่างความเชื่อได้มอบให้กับเรา
สำหรับพวกเราสัตบุรุษอาสนวิหารอัสสัมชัญ ในวันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ จะมาเป็นประธานในพิธีบูชามิสซา เวลา 08:30 น. เพื่อพวกเราจะได้ร่วมอนุโมทนาคุณพระเจ้าและต้อนรับพระคุณเจ้าอย่างใกล้ชิด.

สวัสดี…พ่ออดิศักดิ์

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube