• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2015-06-07 “ความรักของพระบิดาพบได้ในพระเยซูเจ้าผู้ไม่ถือตัวและในเราผู้ถ่อมตนและใจกว้าง”

“ความรักของพระบิดาพบได้ในพระเยซูเจ้าผู้ไม่ถือตัวและในเราผู้ถ่อมตนและใจกว้าง”
เขาให้ชายหนุ่มชาวอิสราเอลเป็นผู้ถวายเครื่องเผาบูชา และฆ่าโคถวายแด่พระยาห์เวห์เป็นศานติบูชา โมเสสรองเลือดครึ่งหนึ่งใส่ชามไว้ แล้วพรมเลือดอีกครึ่งหนึ่งบนพระแท่นบูชา… โมเสสนำเลือดในชามประพรมประชากรพูดว่า “นี่คือโลหิตแห่งพันธสัญญาที่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงกระทำกับท่าน ตามพระวาจาเหล่านี้ทั้งหมด”                                                                                                                                              (อพย 24:5-6,8)
พระเป็นเจ้าทรงทำพันธสัญญากับเรามนุษย์ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษแห่งความเชื่อ “อับราฮัม” ต่อมาก็ “โมเสส”  คำว่า “พันธสัญญา”  การทำสัญญานั้น อันที่จริงนับเป็นการตกลงทำข้อตกลงร่วมกันกับคู่กรณีสองฝ่าย ต่างฝ่ายต่างมีสิทธิและความเป็นอยู่เทียบเท่าเสมอกัน  ไม่ด้อยไม่ยิ่งใหญ่กว่ากัน  
สำหรับหรับกรณีที่พระเป็นเจ้าทรงทำ “พันธสัญญา” กับชนชาติอิสราแอลและเรามนุษย์นั้นต่างกัน พระเป็นเจ้าทรงยิ่งใหญ่กว่าเรามากมายนัก พระองค์ไม่ทรงจำเป็นต้องทำอะไรเลย พระองค์ไม่เดือนร้อนเรื่องใดเลย  แต่นี่พระองค์กลับเป็นคนริเริ่ม และลดตัวเองถ่อมตัวเองลงมาทำสัญญากับมนุษย์ที่อ่อนแอกว่าและด้อยกว่าพระองค์มากมายนัก  คำถามตามมาคือ “พระองค์จะทำไปเพื่ออะไร?” คำตอบชัดเจนเสมอคือ “เพราะพระองค์รักเราลูกๆของพระองค์ประชากรของพระองค์”
“พระคริสตเจ้าเสด็จมาเป็นมหาสมณะผู้นำพระพรต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสัญญาจะประทานมาให้ …สิ่งที่พระองค์ทรงนำไปด้วยมิใช่เลือดแพะและเลือดลูกโค แต่ทรงนำพระโลหิตของพระองค์เข้าไป และทรงกระทำให้การไถ่กู้นิรันดรสำเร็จ” (ฮบ 9:11-12)
“ความรักของพระเป็นเจ้า (พระบิดา)” ชัดเจนขึ้นจับต้องได้มากขึ้นใน “ความรักของพระเยซูเจ้า พระบุตรของพระองค์”  “พันธสัญญา” นับเป็นข้อตกลงที่จะต้องรับผิดชอบตามคำสัญญานั้นที่มีต่อกันหากผิดสัญญา ฝ่ายที่ละเมิดจะต้องรับโทษและโดยทั่วไปโทษนั้นคือ “ความตาย…หรือความฉิบหาย”  ความรับผิดชอบของพันธสัญญาของพระเจ้ากับประชากรของพระองค์คือ พระองค์อวยพรและคุ้มครองพวกเขา ขณะเดียวกันพวกเขาก็ต้องไม่นับถือพระอื่นใด (รวมถึงทรัพย์สินเงินทอง)นอกจากซื่อสัตย์ต่อพระองค์  และเครื่องหมายที่เห็นได้ของโทษที่ละเมิดก็คือ “เลือดที่ถูกประพรม” นั่นเอง (ใครละเมิดจักต้องตาย เลือด คือชีวิตที่ถูกฆ่า)
ครั้งนี้พระเยซูเจ้า  ทรงเอาเลือดและชีวิตของพระองค์เองมอบให้เรา ให้เราประพรมเพื่อเป็นเครื่องหมายว่าพระเป็นเจ้า …พระบิดาและพระองค์จะไม่มีวันที่จะละทิ้งเราลูกของพระองค์ ประชากรของพระองค์  พระองค์ทรงรักเรา จะปกป้องเรา ไม่ทอดทิ้งเรา พระองค์จะรักษาพระพันธสัญญานี้ด้วยชีวิตของพระองค์เอง  ดังนั้นความรักและพันธสัญญาของพระบิดาจึงชัดเจนในชีวิตและความรักของพระเยซูคริสตเจ้า
พระองค์ทรงหยิบขนมปัง ตรัสถวายพระพร ทรงบิขนมปัง ประทานให้เขาเหล่านั้น ตรัสว่า “จงรับเถิด นี่เป็นกายของเรา” แล้วพระองค์ทรงหยิบถ้วย ตรัสขอบพระคุณ ประทานให้เขาและทุกคนดื่มจากถ้วยนั้น  พระองค์ตรัสกับเขาว่า “นี่เป็นโลหิตของเรา โลหิตแห่งพันธสัญญาที่หลั่งออกเพื่อคนจำนวนมาก (มก 14:22-24)
“ชีวิตคริสตชนที่เสียสละอุทิศตนเพื่อพระ เพื่อเพื่อนพี่น้องด้วยความถ่อมตนและใจกว้าง” จึงเป็นชีวิตที่ร่วมมือกับพระเป็นเจ้า…พระบิดาและพระเยซูคริสตเจ้า เพื่อทำให้พระพันธสัญญาของพระองค์ ทำให้ความรักที่พระบิดามีต่อลูกๆของพระองค์ ประชากรของพระองค์ชัดเจนและจับต้องได้ในสังคมในโลกปัจจุบันนี้ของเรา.
 

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube