• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2015-08-09 พระวาจาและศีลมหาสนิทคือปังแห่งชีวิตที่ลงมาจากสวรรค์

พระวาจาและศีลมหาสนิทคือปังแห่งชีวิตที่ลงมาจากสวรรค์
เวลาที่พูดถึงปังแห่งชีวิต เรามักจะนึกถึงแต่เพียงศีลมหาสนิท
พระธรรมนูญเรื่อง “การเผยของพระเป็นเจ้า” ของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 (Dei Verbum) บทที่ 6 ข้อที่ 21 ได้อธิบายไว้ชัดเจนเกี่ยวกับความหมายแท้จริงของคำว่าปังแห่งชีวิต โดยเอกสารเขียนอธิบายไว้ดังนี้
“พระศาสนจักรแสดงคารวกิจต่อพระคัมภีร์เสมอมา เช่นเดียวกับที่แสดงคารวกิจต่อพระกายของพระเจ้าเอง เฉพาะอย่างยิ่งในพิธีกรรม พระศาสนจักรเอาปังแห่งชีวิตมาจากโต๊ะแห่งพระวาจาพระเป็นเจ้า และ พระกายพระคริสตเจ้า โดยมิได้ว่างเว้นและให้ปังนี้แก่สัตบุรุษ…..”
ข้อความดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่งโดยในเฉพาะประโยคที่ว่า พระศาสจักรเอาปังแห่งชีวิตมาจากโต๊ะแห่งพระวาจาพระเป็นเจ้า และพระกายพระคริสตเจ้า
ดังนั้นปังแห่งชีวิตจึงประกอบด้วย 2 สิ่งคือ พระวาจา และศีลมหาสนิท
คริสตชนจะได้รับปังแห่งชีวิต อย่างครบสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้รับทั้ง 2 สิ่งนี้โดยไม่ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
วัดวันอาทิตย์จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อคริสตชนมาร่วมมิสซาวันอาทิตย์ ตั้งแต่ต้นจนจบ คือได้รับฟังพระวาจาทั้ง 3 บทอ่าน และได้รับศีลมหาสนิท
ฉะนั้นการมาวัดวันอาทิตย์อย่างครึ่งๆกลางๆ เช่นพอจบบทอ่านที่ 1 และบทอ่านที่ 2 พระสงฆ์เริ่มอ่านพระวรสารไปได้ครึ่งหนึ่ง จึงเดินเข้าวัด จากนั้นพอถึงเวลารับศีลก็เดินไปรับศีลอย่างสง่าผ่าเผย ก็ถือว่าได้รับปังแห่งชีวิตแบบครึ่งๆกลางๆ แต่ถ้าพระวาจาก็ไม่ได้ฟัง ศีลมหาสนิทก็ไม่ได้รับ ก็ไม่รู้จะพูดว่าอย่างไร จะเรียกว่าผู้ชมมิสซาวันอาทิตย์ หรือ จะเรียกว่าผู้ร่วมมิสซาวันอาทิตย์
จะเรียกว่าผู้ร่วมคงจะลำบาก เพราะไม่ได้ร่วมอะไรเลย ไม่ได้ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระวาจา อีกทั้ง ไม่ได้ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิท
กลับบ้านมือเปล่า!!!
พระวาจาหรือปังแห่งชีวิต ชนิดแรกมีไว้เพื่อเปลี่ยนชีวิต คือรับฟังพระวาจาแล้วต้องนำไปทำหรือปฏิบัติ จะทำให้ชีวิตเปลี่ยนแต่ถ้าฟังเข้าหูซ้าย แล้วออกหูขวา หรือแค่ฟัง และจำแค่ประโยคเด็ดๆ เอามาพูดคุยนอกวัดก็ไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง
เช่นวันนี้ท่านเปาโลบอกว่า
“พี่น้อง จงอย่าทำให้พระจิตของพระเจ้าต้องเศร้าหมอง พระเจ้าประทานพระองค์(พระจิตเจ้า)เป็นตราประทับให้ท่านแล้วสำหรับวันแห่งการไถ่กู้ ท่านทั้งหลายจงขจัดความขมขื่น ความขุ่นเคือง ความโกรธ การขู่ตะคอก การนินทาว่าร้าย และความไม่ดีไม่งามทั้งหลาย แต่จงมีใจโอบอ้อมอารี มีเมตตาต่อกัน ให้อภัยกันดังที่พระเจ้าทรงให้อภัยท่าน ในองค์พระคริสตเจ้าเถิด
ท่านทั้งหลายจงทำตามแบบฉบับของพระเจ้า ประดุจบุตรสุดที่รักของพระองค์ จงดำเนินชีวิตในความรักดังที่พระคริสตเจ้าทรงรักเรา และทรงมอบพระองค์เพื่อเรา เป็นเครื่องบูชาที่มีกลิ่นหอมถวายแด่พระเจ้า”
ประโยคสำคัญของท่านเปาโล มี 2 ประโยค คือ
1. จงขจัด = จงตัด
2. จงดำเนินชีวิตเป็นเครื่องบูชา = ดำเนินชีวิตไม้กางเขน †
ท่านเปาโลสอนให้เราดำเนินชีวิตแห่งไม้กางเขน ก็คือให้ตัด ความขมขืน ความขุ่นเคือง ความโกรธ การขู่ตะคอก การนินทา ความขี้เหนียว ความมักใหญ่ใฝ่สูง ความละโมบในเงินทองชื่อเสียง ความอวดตัว ความหยิ่งผยอง ความลามกทุกประเภท ความโกรธแค้น การมุ่งอาฆาตแค้น ความยินดีและนิยมในกระแสโลก ฯลฯ ให้ตัด สิ่งเหล่านี้ออกจากชีวิต และเวลาที่เรากำลังตัด หรือ กำลังพยายามตัด เราก็กำลังดำเนินชีวิตเป็นเครื่องบูชา ถวายแด่พระเจ้า คือดำเนินชีวิตด้วยการตายจากความอยากของตัวเอง
การเข้าไปรับศีลมหาสนิท…ปังแห่งชีวิตชนิดที่สอง จะเสริมพลังของการปฏิบัติพระวาจา ทำให้การปฏิบัติพระวาจาทำได้ง่ายขึ้น
ดังนั้น พระวาจาและศีลมหาสนิทจึงเป็นปังแห่งชีวิตที่ต้องควบคู่กันไปอยู่เสมอ ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้
หรือถ้ามีแต่รับศีล แต่ไม่ปฏิบัติพระวาจาอย่างจริงจัง ก็ไรประโยชน์ซึ่งพวกเราหลายคนเป็นอย่างนั้น…
 

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube