• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2015-10-11 เข้าถึงพระเจ้าด้วยความว่างเปล่า

เข้าถึงพระเจ้าด้วยความว่างเปล่า
บทอ่านที่หนึ่งของมิสซาวันนี้ เป็นบทอ่านจากหนังสือปรีชาญาณ เนื้อหาเป็นเรื่องของการแสวงหาปรีชาญาณ โดยบทอ่านจะพรรณนาถึงคุณค่า และความประเสริฐล้ำค่าของปรีชาญาณอันเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องพยายาม ไขว่คว้า เสาะแสวงหาเพื่อเป็นเจ้าของ
ตกลงแล้วปรีชาญาณคืออะไร?
หลายคนแปลความหมายของปรีชาญาณว่า เป็นความฉลาดรอบรู้ แต่ในทางพระคัมภีร์เริ่มต้นก็ได้อธิบายไว้ยืดยาว แต่สุดท้ายลงสรุปว่า ปรีชาญาณ แท้ที่จริงแล้วก็คือ องค์พระผู้เป็นเจ้านั่นเอง
ส่วนในพระวรสารวันนี้ ชายผู้หนึ่งได้เอ่ยปากถามพระเยซูเจ้า ด้วยประโยคสำคัญ ชายผู้นั้นถามพระเยซูเจ้าว่า “พระอาจารย์ผู้ทรงความดี ข้าพเจ้าต้องทำอะไรเพื่อจะได้ชีวิตนิรันดร”
เช่นเดียวกันวิชาเทววิทยาก็ได้พยายามอธิบายเรื่องนี้ และลงสรุปด้วยหลักคำสอนที่ว่า ชีวิตนิรันดรก็คือ การที่คนๆหนึ่งมีชีวิตที่สนิทเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตของพระเป็นเจ้า
ดังนั้นเมื่อเอาบทอ่านที่ 1 และบทพระวรสารมาเทียบเคียงกัน ก็จะได้ความคิดที่ว่า องค์พระผู้เป็นเจ้าคือสิ่งประเสริฐล้ำค่าที่มนุษย์ต้องเสาะแสวงหา และต้องพยายามทำชีวิตของเราให้สนิทเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตของพระองค์
ขั้นต่อไปก็จะเป็นวิธีการ ว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น และพระเยซูเจ้าได้แนะนำวิธีการนั้น
พระองค์ทรงแนะนำว่า เพื่อจะได้องค์พระผู้เป็นเจ้ามาเป็นเจ้าของ หรือ เพื่อจะได้มีชีวิตสนิทเป็นหนึ่งเดียวกับองค์พระผู้เป็นเจ้า  “…เจ้าจงไปขายทุกสิ่งที่มี มอบเงินให้คนยากจน และท่านจะมีขุมทรัพย์ในสวรรค์…”
พูดสั้นๆ คือ เพื่อเราจะได้องค์พระผู้เป็นเจ้ามาครอบครองเป็นเจ้าของ หรือ เพื่อจะมีชีวิตสนิทเป็นหนึ่งเดียวกับองค์พระผู้เป็นเจ้า เราจะต้องแลกด้วยการสละละทิ้งทุกอย่างและติดตามพระเยซูเจ้า
สละละทิ้งทุกอย่างและติดตามพระเยซูเจ้า 
สละละทิ้งทุกอย่างและติดตามพระเยซูเจ้า เป็นคำสอนที่ตรงกับ คำสอนข้อแรกของบทเทศน์บนภูเขา
“ผู้มีใจยากจนย่อมเป็นสุข เพราะอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา” (มัทธิว 5:3)
เพื่อจะได้พระเป็นเจ้ามาครอบครอง เราต้องยอมแลกด้วยการสละละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นของโลก
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นของโลก ในที่นี้หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็น โลกวัตถุ รวมทั้งเกียรติยศ ชื่อเสียง และ อำนาจซึ่งเกี่ยวพันผูกติดกับโลกวัตถุนั้น
ทำไมต้องละทิ้งโลกวัตถุเพื่อแสวงหา และเป็นเจ้าขององค์พระผู้เป็นเจ้า?
คำตอบเราสามารถพบได้ในยอห์นบทที่ 4 ข้อ 24 เป็นคำตอบที่พระเยซูเจ้าตอบหญิงชาวสะมาเรียผู้นั้น “พระเจ้าทรงเป็นจิต ผู้ที่นมัสการพระองค์จะต้องนมัสการเดชะพระจิตเจ้าและตามความจริง” พระเยซูเจ้าพูดถึงเรื่องการสวดภาวนาก็จริง แต่เราก็สามารถประยุกต์ใช้ได้ในแนวทางอื่นด้วย “พระเป็นเจ้าทรงเป็นจิต ดังนั้นเราจะต้องแสวงหาและครอบครองพระองค์ด้วยวิธีการของจิต”
ดังนั้นจิตที่หมกมุ่นวุ่นอยู่กับเรื่องราวของโลก หรือผูกติด ผูกพันอยู่กับโลกวัตถุและวิถีของโลกวัตถุ รวมทั้งปล่อยให้โลกวัตถุและวิถีของโลกวัตถุครอบงำจิตวิญญาณบุคคลผู้นั้นจึงไม่อาจเข้าถึงองค์พระผู้เป็นเจ้าได้เลย
เราจะต้องแสวงหาและพบกับองค์พระผู้เป็นเจ้าในความยากจน(ใจยากจน) และใจที่ว่างเปล่าเพียงวิธีเดียว
“ยากจริงหนอที่คนมั่งมี(ใจผู้ติดอยู่กับโลกวัตถุ)จะเข้าสู่พระอาณาจักรของพระเจ้า”
สวรรค์ของชาวพุทธก็อยู่ในแนวคิดเดียวกับคริสต์ศาสนา สวรรค์ของพวกเขาก็คือ นิพพาน ซึ่งแปลว่าการหลุดพ้นจากกิเลส และกิเลสก็เกี่ยวเนื่องกับโลกวัตถุ ซึ่งนำมาซึ่ง โลภ โกรธ และหลง ดังนั้นผู้บรรลุถึงนิพพานก็คือผู้บรรลุแล้วซึ่งความเป็นอิสระจาก โลภ โกรธ และหลง ซึ่งก็หมายถึง บุคคลนั้นต้องเป็นอิสระจากการเกาะติดอยู่กับโลกวัตถุนั่นเอง
 

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube