• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2018-12-09 ข้อคิดวันอาทิตย์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า ปี C

ข้อคิดวันอาทิตย์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า ปี C

        ลก 3: 1-6…ยอห์นบุตรของเศคาริยาห์ ไปทั่วแม่น้ำจอร์แดน เทศน์สอนเรื่องพิธีล้างซึ่งแสดงการเป็นทุกข์กลับใจเพื่อจะได้รับการอภัยบาป…ตามที่มีเขียนไว้ในหนังสือบันทึกของประกาศกอิสยาห์ว่าคนๆหนึ่งร้องตะโกนในถิ่นทุรกันดารว่าจงเตรียมทางขององค์พระผู้เป็นเจ้า จงทำทางเดินของพระองค์ให้ตรงเถิด…

        พระวาจาของพระเจ้าในวันนี้ เราจะได้ยินเสียงร้องที่แสนโดดเดี่ยว แต่ว่าเป็นเสียงที่ทรงพลังยิ่งของท่านยอห์น แบปติสต์ ซึ่งเร่งเร้าพวกเราให้ “เตรียมทางขององค์พระผู้เป็นเจ้า”…พระเยซูเจ้าทรงมาหาเราในพิธีบูชาขอบพระคุณ ให้เราสำรวมจิตใจสงบนิ่งสักครู่เพื่อจะเตรียมตัวต้อนรับพระองค์ด้วยการเป็นทุกข์กลับใจมาหาพระองค์

        ข้อคิด…ในบทอ่านที่หนึ่ง (บรค 5: 1-9)…ท่านประกาศกบารุคได้ให้ข่าวสารที่ปลอบใจอย่างยิ่งแก่สิโยน โดยบอกว่าความเศร้าโศกของสิโยนกำลังจะสิ้นสุดลงและบรรดาบุตรหลานของเธอ ก็จะถูกส่งคืนให้เธอจากถิ่นเนรเทศ “พระเจ้าจะทรงปรับถนนหนทางให้ราบเรียบเพื่อให้พวกเขาได้เดินทางกลับถิ่นที่อยู่ได้อย่างสดวกสบาย”…แม้ว่าในความเป็นจริงของการที่จะได้กลับถิ่นที่อยู่จากถิ่นเนรเทศนั้น จะเป็นภาพลางๆที่ยังอยู่ห่างไกลสุดเอื้อมก็ตาม แต่ก็ช่วยชี้แสดงให้เห็นถึงยุคของพระเมสสิยาห์ว่าจะมีภาพลักษณ์อย่างไร

เป็นสิ่งที่นำความเจ็บปวดมาให้ ถ้าหากตัวเองจะถูกคนอื่นลืม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคนที่เราคิดว่าเขารักเราเช่นเดียวกันหลายๆครั้งเมื่อเรารู้สึกผิดหวังหรือมีสิ่งเลวร้ายเกิดขึ้นกับเรา เราก็อาจจะรู้สึกเช่นนี้ว่า “พระเจ้าได้ทรงลืมเราเสียแล้วหรือ?” อันจะนำไปสู่ความคิดหรือความรู้สึกที่ว่าพระเจ้าไม่สนใจเรา ไม่รักเราอีกต่อไปแล้วหรือ ซึ่งก็เป็นเหตุการณ์ที่ประชากรของพระเจ้าในสมัยของท่านประกาศกบารุครู้สึกในศตวรรษที่สองก่อนคริสตกาล เพราะอาณาจักรของชาติของพวกเขาได้ล่มสลายลง นครเยรูซาเล็มศักดิ์สิทธิ์ได้ถูกทำลาย และพระมหาวิหารที่สวยงามได้ถูกทอนลงให้เหลือแต่ซากปรักหักพัง ลูกชายลูกสาวของพวกเขาได้ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยในถิ่นเนรเทศ ดังนั้น พวกเขาจึงได้ตั้งคำถามให้กับตัวเองว่า “พระเจ้าอยู่ที่ไหน?…และพระสัญญาของพระองค์ไปอยู่ที่ไหนแล้วเล่า?” อันทำให้พวกเขาสรุปว่าพระเจ้าคงได้ลืมพวกเขาแล้ว

แต่ท่านประกาศกบารุคพยายามทำให้ประชาชนได้มั่นใจว่าพระเจ้าจะไม่มีวันลืมพวกเขอย่างแน่นอน ท่านประกาศกพยายามที่จะปลอบโยนพวกเขาว่าความเศร้าโศกของพวกเขากำลังจะสิ้นสุดลงแล้ว พวกเขากำลังจะได้กลับบ้าน เพียงแต่ขอให้พวกเขาทำใจสู้เข้าไว้…อย่างไรก็ตาม พระสัญญาของพระเจ้าก็ยังจะไม่สำเร็จบริบูรณ์จนกว่าพระเมสสิยาห์หรือองค์พระเยซูเจ้าจะเสด็จมา    

          และจากภาพลางๆของท่านประกาศกบารุค ก็นำไปสู่เรื่องราวของพระวรสารซึ่งพระวรสารของนักบุญลูกา (ลก 3: 1-6) ได้นำเราไปหาพระเมสสิยาห์และท่านนักบุญผู้เดินนำหน้าพระผู้ไถ่ คือท่านยอห์น แบปทิสต์เพื่อเป็นการเน้นถึงความเป็นสากลของการช่วยให้รอดพ้น…นักบุญลูกาก็ได้วางกรอบของเหตุการณ์ให้อยู่ในประวัติศาสตร์ของโลกโดยการเจริญรอยตามรูปแบบของบรรดาประกาศกในพระธรรมเก่า ท่านยอห์นรับธุระที่จะเตรียมประชาชนสำหรับการเสด็จมาของพระผู้ไถ่ด้วยการเรียกร้องพวกเขาให้ทำการกลับใจ

          ส่วนในบทอ่านที่สองนั้น (ฟป 1: 3-6. 8-11)นักบุญเปาโลพูดถึงการกลับมาอีกครั้งหนึ่งของพระเยซูคริสตเจ้า เพราะความรักเอ็นดูที่ท่านนักบุญมีต่อบรรดาพี่น้องคริสตชนของท่าน ท่านจึงได้เร่งเร้าพวกเขาให้เตรียมตัวสำหรับการเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่งของพระองค์ด้วยการใช้ชีวิตที่ใสสะอาดบริสุทธิ์อย่างปราศจากข้อตำหนิ

เพื่อเป็นการเตรียมรับเสด็จพระเมสสิยาห์ พระผู้ไถ่ที่กำลังจะเสด็จมา ท่านยอห์น แบปทิสต์ บอกประชาชนในสมัยของท่านว่า “จงทำทางเดินของพระเจ้าให้ตรง” …จริงๆแล้วน่าจะต้องเป็นทางเดินของพวกเราเสียมากกว่า ที่จะต้องทำให้ตรง เพื่อพระเจ้าจะทรงเดินมาหาเราได้อย่างสดวก…เราจะต้องทำให้ชีวิตของเราแต่ละคนตรงไปตรงมาตามพระประสงค์ของพระเจ้า แต่สิ่งที่ยังไม่ตรงซึ่งเห็นง่ายๆและชัดๆก็คือ ความสัมพันธ์ของเรากับเพื่อนพี่น้องของเราเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อยู่ในบ้านเดียวกับเรา ในที่ทำงานด้วยกัน หรือในหมู่คณะเดียวกัน  เช่น เราไม่อยากยกโทษให้เขาและไม่อยากลืมเรื่องที่เขาได้ทำขัดใจเรา เราไม่อยากเข้าใจเขา ไม่อยากอดทนต่อเขา ไม่อยากจะแบ่งปันอะไรต่างๆกับเขา ฯลฯ

เราอาจจะลืมไปว่าชีวิตมนุษย์เรานั้นมันสั้น ในขณะนี้เราคงยังจะไม่รู้สึกเสียใจในสิ่งที่เราได้ทำลงไป แต่เราคงรู้สึกเสียใจ ถ้าหากว่าเราไปได้ยินมาว่าคนๆนั้นซึ่งเรายังไม่ได้คิดดีถึงเขา พูดดีกับเขาและทำดีกับเขา เพิ่งล้มหายตายจากเราไปหรือเราอาจจะไม่มีโอกาสที่จะพบกับเขาอีก และเราก็ยังไม่ได้คืนดีกับเขา

ถ้าเราตระหนักดีว่าชีวิตของเราจะอยู่ไปได้อีกไม่กี่วัน? ไม่กี่เดือน? ไม่กี่ปี? …เราก็คงจะไม่รอช้าที่จะทำในสิ่งที่เราอยากจะผลัดไปทำในวันข้างหน้า

คงจะไม่ใช่หนทางของพระเจ้าที่เราจะต้องทำให้ตรง แต่จะต้องเป็นหนทางหรือชีวิต หรือความประพฤติ หรือความสัมพันธ์ของเรากับเพื่อนพี่น้องต่างหาก ที่เราจะต้องทำให้ตรง และดังนี้แหละที่เราเรียกว่าเป็นการทำทางเดินให้ตรง สำหรับให้พระผู้เป็นเจ้า พระผู้ไถ่เสด็จมาหาเรา

แต่ว่าการจะเดินในหนทางที่ตรง เราต้องการพละกำลังจากพระเจ้า ต้องการปรีชาญาณ ต้องการใจที่เด็ดเดี่ยวไม่ท้อถอย ซึ่งจะได้มาด้วยการสวดภาวนา การทำพลีกรรมใช้โทษบาป การรับศีลศักดิ์สิทธิ์ การอ่าน-ฟัง-ไตร่ตรองพระวาจาและนำเอาไปปฏิบัติเป็นชีวิตของเรานอกจากนั้นในช่วงเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า ก็จะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่เราจะคิดถึงคนอื่นด้วยการให้สิ่งดีๆกับเขา…ไม่ใช่เฉพาะคนที่ทำดีกับเราเท่านั้น แต่กับคนที่ทำร้ายเราด้วยไม่ว่าด้วยความคิด คำพูดหรือพฤติกรรมต่างๆก็ตาม…เราควรให้อภัยแก่เขาเหมือนกับที่พระเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์พระเยซูเจ้าบนไม้กางเขนที่ได้ทรงวิงวอนพระบิดาเจ้า ได้ให้อภัยแก่มนุษยชาติ…เราต้องไม่ลืมว่าเทศกาลพระคริสตสมภพเป็น  ”เทศกาลของการให้”…ให้สิ่งดีๆ ให้พร ให้อภัย ฯลฯ แก่กันและกัน

สวัสดี…พ่อวีรศักดิ์

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube