• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2019-09-08 วันที่ 8 กันยายน ฉลองแม่พระบังเกิด

แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ

วันที่8 กันยายนฉลองแม่พระบังเกิด

(The Nativity of the Blessed Virgin Mary, Feast)

พระศาสนจักรมักจะถือวันสิ้นชีพของนักบุญว่าเป็น“วันเกิด“และก็เป็นสิ่งถูกต้องเช่นนั้นเพราะวันนั้นเป็นวันที่ผู้ได้รับเลือกสรรได้จบชีวิตของเขาหรือของเธอบนแผ่นดินนี้และไปเกิดใหม่มีชีวิตเที่ยงแท้ในสวรรค์อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นสำหรับ3 บุคคลนี้ซึ่งพระศาสนจักรกำหนดฉลองวันเกิดตามธรรมชาติด้วยก็คือพระเยซูเจ้าพระนางมารีย์และนักบุญยอห์นบัปติสต์

การบังเกิดมาของเด็กคนหนึ่งย่อมเป็นเหตุการณ์ที่น่าชื่นชมยินดีสำหรับครอบครัวนั้นเป็นจริงดังที่รพินฐนาถฐากอร์(Rabindranath Tagore – นักปราชญ์นักปรัชญาชาวอินเดีย- ผู้แปล) ได้กล่าวไว้ว่า”เด็กทุกๆคนมาสู่โลกด้วยหลักประกันว่าพระผู้เป็นเจ้ายังไม่ทรงเบื่อหน่ายกับมวลมนุษยชาติ” วันนี้  เราเฉลิมฉลองการบังเกิดของเด็กหญิงผู้หนึ่งซึ่งมาด้วยหลักประกันที่มากกว่านั้นเธอได้เป็นสัญญาณดังถ้อยคำของพระศาสนจักรที่ว่าเป็น”รุ่งอรุณแห่งความหวังและความรอดพ้นของโลกทั้งมวล”

การบังเกิดมาดุจนักบุญผู้ยิ่งใหญ่“จิตวิญญาณของเธอจึงสวยงามที่สุด“กว่าสิ่งสร้างใดๆที่พระเจ้าทรงสร้างมา- นี่เป็นคำสรรเสริญของนักบุญอัลฟองโซเดอลิกวอรี- ท่านยังเสริมอีกว่า”จากการถูกกำหนดไว้แล้วให้เป็นพระมารดาขององค์พระวจนาตถ์นิรันดรเด็กน้อยผู้นี้จึงได้รับพระหรรษทานที่ยิ่งใหญ่จนเปี่ยมล้นถึงขั้นที่ว่าขณะที่เธอปฏิสนธินิรมลนั้นเธอก็มีความศักดิ์สิทธิ์เกินกว่าบรรดานักบุญทั้งหมดและทูตสวรรค์ทั้งปวงเพราะว่าเธอได้รับพระหรรษทานในขั้นที่สูงส่งกว่าซึ่งจะสอดคล้องกับศักดิ์ศรีของเธอในการเป็นพระมารดาของพระเจ้า”

พระนางมารีย์ผู้ทรงเป็นเอวาคนใหม่คือของขวัญแด่พระศาสนจักรไม่เพียงเท่านั้นทรงเป็นมารดาของพระศาสนจักรด้วยพระนางทรงเป็นประดุจของขวัญที่มอบให้พวกเราทุกคนด้วยวิถีทางที่พิเศษยิ่งโดยที่องค์พระเยซูคริสต์พระเทวบุตรของพระนางได้ทรงยกพระนางให้เป็นมารดาของเราแต่ละคนด้วย

พระนางมารีย์ทรงเป็นความปิติยินดีของพระบิดาเพราะเธอเป็นผลงานสร้างสรรค์มหัศจรรย์ชิ้นเอกของพระองค์พระนางมารีย์ทรงเป็นความปิติยินดีของพระบุตรผู้ซึ่งพินิจรำพึงในพระนางว่าทรงเป็นหีบแห่งพันธสัญญาที่ซึ่งพระองค์ได้ทรงรับเอาเนื้อหนังบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่โลกให้รอดตามพระประสงค์ของพระบิดาพระนางมารีย์ทรงเป็นความปิติยินดีสูงสุดของพระจิตเจ้าผู้ซึ่งทรงมองเห็นในเธอว่าเป็นเจ้าสาวที่บริสุทธิ์และซื่อสัตย์อย่างที่สุดของพระองค์และโดยพระนางที่พระองค์จะเสด็จลงมาและจะแผ่เงาปกคลุมพระนางในการให้กำเนิดองค์พระบุตร

ถ้าเปิดดูตามพระคัมภีร์แล้วไม่มีกล่าวอย่างชัดเจนถึงสถานที่พระนางบังเกิดอย่างไรก็ตามตามธรรมประเพณีเชื่อกันว่าเป็นสถานที่ในกรุงเยรูซาเล็มวันฉลองนี้มีกำเนิดมาจากทางตะวันออกการฉลองครั้งแรกกระทำในกรุงเยรูซาเล็มในศตวรรษที่5 และต่อมาถูกนำมาฉลองในกรุงโรมเมื่อศตวรรษที่7 การฉลองนี้ช่วยในการกำหนดวันสมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมลว่าเป็นวันที่8 ธันวาคม(นับถอยหลังไป9 เดือน)

(ถอดความโดยคุณพ่อวิชาหิรัญญการจากหนังสือSaint Companions for Each Day; เขียนโดยA.J.M. Mausolfe และJ.K. Mausolfe)

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube