• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2020-01-26 สรุป พระสมณลิขิต “Aperuit Illis”

แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ

สรุปพระสมณลิขิต“Aperuit Illis”

“พระองค์ทรงเปิดใจของพวกเขา…”(ลก. 24:25)

“วันอาทิตย์แห่งพระวาจาของพระเจ้า”

 

พระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงประกาศพระสมณลิขิต Aperuit Illisในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2019 (โอกาสเริ่มฉลองครบรอบ 1600 ปีแห่ง มรณกรรมของนักบุญเยโรม 30 กันยายน ค.ศ. 420-2020) พระสมณลิขิตฉบับนี้มีทั้งหมด 15 ข้อ สรุปเป็นประเด็นสำคัญ 4 เรื่องคือ

1. วันอาทิตย์แห่งพระวาจาของพระเจ้า

2. ความสำคัญของพระคัมภีร์

3.การอ่านพระคัมภีร์อย่างสม่ำเสมอและดำเนินชีวิตเป็นประจักษ์พยานตามพระวาจาของพระเจ้า

4. ศาสนบริกรผู้ทำหน้าที่ประกาศพระวาจา

 

ข้อความสำคัญจากพระสมณลิขิตแต่ละข้อ

ข้อ 1ความสัมพันธ์ระหว่างพระเยซูคริสต์ผู้ทรงเสด็จกลับคืนพระชนม์ ชุมชน และพระคัมภีร์ คือแก่นแห่งอัตลักษณ์ของพวกเราในฐานะที่เป็นคริสตชน

ข้อ 2พระศาสนจักรทั้งมวลทำการเฉลิมฉลองด้วยเป้าประสงค์เดียวกัน นั่นคือ วันอาทิตย์แห่งพระวาจาของพระเจ้า บัดนี้ต้องกระทำให้เป็นสิ่งปกติสำหรับชุมชน คริสตชนที่จัดเวลาพิเศษไว้เพื่อไตร่ตรองถึงความสำคัญอันยิ่งใหญ่แห่งพระวาจาของพระเจ้าเพื่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

ข้อ 3 วันอาทิตย์ที่สามของเทศกาลธรรมดาจะเป็นวันที่อุทิศให้กับการฉลอง การศึกษา และการเผยแผ่พระวาจาของพระเจ้า

-ความสำคัญอยู่ที่การเฉลิมฉลองข้อความพระคัมภีร์ท่ีใช้ในการเฉลิมฉลอง ศีลมหาสนิท (พิธีบูชาขอบพระคุณ) เพื่อให้สัตบุรุษมุ่งความสนใจไปยังคุณค่าแห่งพระวาจาของพระเจ้า

–  ในวันอาทิตย์นี้เองจะมีความเหมาะสมเป็นพิเศษที่จะให้ความสำคัญไปยังการประกาศพระวาจาของพระเจ้าและเน้นให้เกียรติพระวาจาในบทเทศน์

–  อาจทำพิธีแต่งตั้งผู้อ่านหรือจัดอะไรทำนองนี้เพื่อที่จะชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการประกาศพระวาจาของพระเจ้าในจารีตพิธี

-ในบริบทนี้ควรรื้อฟื้นความพยายามที่จะให้การอบรมสัตบุรุษซึ่งจำเป็นที่จะต้องเป็นผู้ประกาศพระวาจาที่แท้จริง

-อาจมอบหนังสือพระคัมภีร์ หรือหนังสือศรัทธาสักเล่มหนึ่งแก่บรรดาสัตบุรุษ สำหรับการเรียนรู้และการอ่าน เพื่อสร้างความชื่นชอบ ปลุกจิตสำนึกในการสวดภาวนาและอ่านพระคัมภีร์ทุกวัน

ข้อ 4พระคัมภีร์เป็นหนังสือสำหรับประชากรของพระเจ้าซึ่งในการฟังพระวาจาเหล่านั้นจะขับเคลื่อนจากการที่ต่างคนต่างอยู่และแตกแยกกันสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกัน

ข้อ 5ผู้นำพระศาสนจักร (คือ พระสังฆราช พระสงฆ์ และสังฆานุกร) ต้องเป็นผู้รับผิดชอบคนแรกที่ต้องอธิบายพระคัมภีร์และช่วยให้ทุกคนเข้าใจ

-ต้องอุทิศเวลาอย่างเพียงพอในการเตรียมบทเทศน์

-อย่าได้เบื่อที่จะอุทิศเวลาและการสวดภาวนาต่อพระคัมภีร์

–ครูคำสอนก็เช่นเดียวกัน(อีกทั้งบรรดานักบวชผู้ถวายตนและพี่น้องคริสตชนทุกคนด้วย)ในพันธกิจช่วยเหลือผู้คนให้เจริญเติบโตขึ้นในความเชื่อ ควรที่จะมีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องฟื้นฟูตนเองโดยอาศัยความคุ้นเคยและการศึกษาพระคัมภีร์

ข้อ 6ก่อนที่จะพบศิษย์ที่รวมตัวกันอยู่ในห้องที่ลงกลอนและก่อนที่จะเปิดใจ พวกเขาให้เข้าใจพระคัมภีร์ (เทียบ ลก. 24:44-45) พระเยซูคริสต์ผู้เสด็จกลับคืนพระชนมชีพได้ปรากฏพระองค์กับศิษย์สองคนที่กำลังเดินทางจากกรุงเยรูซาเล็ม ไปยังหมู่บ้านเอมมาอุส (เทียบ ลก. 24:13-35)

ข้อ 7เนื่องจากพระคัมภีร์ทุกแห่งพูดถึงพระคริสตเจ้า ซึ่งสามารถทำให้พวกเราเชื่อได้ว่าการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนชีพไม่ใช่เป็นเรื่องของความเร้นลับ แต่เป็นประวัติศาสตร์ และเป็นศูนย์กลางแห่งความเชื่อสำหรับศิษย์ของพระองค์

–  ผู้มีความเชื่อจึงจำเป็นต้องฟังด้วยความตั้งใจต่อพระวาจาของพระเจ้า ทั้งในการเฉลิมฉลองจารีตพิธีกรรมและในการอธิษฐานภาวนาและการรำพึงไตร่ตรองของตน

ข้อ 8การเดินทางที่พระผู้เสด็จกลับคืนพระชนม์ชีพไปกับศิษย์แห่งเอมมาอุส จบลงด้วยการรับประทานอาหาร

-เหตุการณ์ฉากนี้แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงสายสัมพันธ์ที่ตัดไม่ขาดระหว่างพระคัมภีร์กับศีลมหาสนิท

-การอ่านพระคัมภีร์อย่างสม่ำเสมอและการเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท(พิธีบูชาขอบพระคุณ)ทำให้เป็นไปได้สำหรับพวกเราที่จะเห็นว่าพวกเราเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน

ข้อ9ในจดหมายฉบับที่สองถึงทิโมธี… นักบุญเปาโลขอร้องเพื่อนร่วมงานที่ซื่อสัตย์ของตนให้หันไปพึ่งพระคัมภีร์เสมอ

ข้อ 10ผลงานและบทบาทของพระจิตเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ใช่เพียงการดลใจในพระคัมภีร์เท่านั้น แต่พระองค์ยังกระทำการในตัวผู้ที่ฟังพระวาจาของพระเจ้าด้วย

ข้อ 11พวกเราเสี่ยงมากที่จะไปแยกพระคัมภีร์ออกจากธรรมประเพณีโดยไม่เข้าใจว่าทั้งสองสิ่งเป็นบ่อเกิดเดียวกันของการเผยแสดงของพระเจ้า

ข้อ 12เมื่อพวกเราอ่านพระคัมภีร์ภายใต้แสงสว่างแห่งเจตนารมณ์เดียวกันกับผู้ที่เขียน จึงเป็นของใหม่เสมอ

-“พระคัมภีร์หวานดุจน้ำผึ้งในปาก แต่พอตกถึงท้องรสชาติขมจนบอกไม่ถูก”(วว. 10: 10)

–  ความหวานแห่งพระวาจาของพระเจ้าต้องทำให้พวกเรานำไปแบ่งปันกับผู้อื่นที่เราพบในชีวิตนี้

– ความขมของพระคัมภีร์บ่อยครั้งเกิดจากการที่พวกเรารู้สึกว่านี่เป็นการยากที่ จะดำเนินชีวิตตามพระวาจานั้นอย่างสม่ำเสมอ…

ข้อ 13เมื่อฟังพระคัมภีร์แล้วต้องไปปฏิบัติงานเมตตา นี่เป็นการท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับพวกเราในชีวิต พระวาจาของพระเจ้ามีอำนาจในการเปิดตาของพวกเราและทำให้พวกเราสามารถปฏิเสธปัจเจกนิยมที่ว่างเปล่า แล้วหันกลับไปยังหนทางใหม่ของการแบ่งปันและเอื้ออาทรต่อกัน

ข้อ 14  ช่วงเวลาที่มีความสำคัญมากที่สุดในความสัมพันธ์ของพระเยซูคริสต์กับศิษย์ของพระองค์จะพบได้ในเรื่องราวที่พระองค์ทรงสำแดงพระองค์อย่างรุ่งโรจน์ (บนภูเขาสูง)

-ในการค้นพบปฏิสัมพันธ์ระหว่างความหมายต่างๆ ของพระคัมภีร์ เป็นความสำคัญที่ต้องเข้าใจข้อความจากตัวอักษรจนถึงเจตนารมณ์อันแท้จริง

ข้อ 15แม่พระเป็นผู้มีความสุขแท้ เป็นผู้มีบุญจริง เพราะว่าท่านได้รักษาพระวาจาของพระเจ้า

 

จัดทำโดย “แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ”

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube