• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2020-04-11 วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์

วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์

               

วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์(Holy Saturday/Sabbatum Sanctum) เป็น “วันที่พระเยซูเจ้าทรงถูกฝังไว้ในคูหา” และเป็น “วันแห่งการพักผ่อนของพระคริสตเจ้า” เพราะในวันนั้นพระศพของพระองค์ทรงถูกวางไว้ในคูหา และในวันนี้เราคงคิดถึงคำภาวนาในบท “สัญลักษณ์ของอัครสาวก/ข้าพเจ้าเชื่อ” ที่ภาวนาว่า “(พระเยซูเจ้า)เสด็จสู่แดนมรณะ” วันนี้เป็นวันที่โลกทั้งสองโลก คือโลกแห่งความมืด โลกแห่งบาปและโลกแห่งความตาย กับโลกแห่งการกลับคืนชีพและโลกแห่งการปฏิสังขรณ์ไปสู่อาณาจักรแห่งความสว่าง   ต่างก็หยุดทำกิจกรรมของตนเอง ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ จึงในวันนี้พระศาสนจักรไม่ให้มีพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ใดๆทั้งสิ้นจนถึงพิธีตื่นเฝ้าในค่ำคืนวันปัสกาคือค่ำคืนวันนี้ วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์นี้ซึ่งอยู่ระหว่างวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์และวันอาทิตย์ปัสกา ได้บอกเราถึงการสิ้นสุดของโลกๆหนึ่งและการเกิดใหม่ของอีกโลกหนึ่งอันได้รับการสถาปนาขึ้นด้วยการเสด็จกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้า

 

วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์น่าจะเป็นวันที่เงียบที่สุดของปีเลยทีเดียว แต่เมื่อพระอาทิตย์ตกดินแล้ว ก็จะเป็นช่วงเวลาของความชื่นชมยินดีและการรอคอยครั้งยิ่งใหญ่และสำคัญสุดอันเนื่องมาจากความงดงามของพิธีกรรมของการตื่นเฝ้าปัสกาซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็น “มารดาของการตื่นเฝ้าที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย” หรือเป็น “พิธีกรรมอันยิ่งใหญ่แห่งความสว่าง”

 

เหมือนกับเมล็ดพืชในดินที่รอจังหวะเวลาโผล่ขึ้นมาจากดินเป็นต้นอ่อน พระเยซูเจ้าที่พักผ่อนอยู่ในคูหา ก็รอเวลาที่จะกลับคืนพระชนมชีพ

 

พระศาสนจักรกำลังตื่นเฝ้าอยู่รอบๆพระคูหาของพระคริสตเจ้าพลางมีส่วนร่วมในธรรมล้ำลึกเดียวกันของพระองค์ อันที่จริงพระศาสนจักรเองก็รอการกลับคืนชีพในวันสุดท้ายเช่นกัน ซึ่งเป็นวันยิ่งใหญ่ของพระคริสตเจ้า

ตามธรรมประเพณีที่ได้รับสืบทอดกันมา วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์เป็นวันที่จะถวายพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการตระเตรียมการสมโภชคืนวันปัสกา แต่ว่าจะมีวจนพิธีกรรมอ่านพระวาจาและสวดชั่วโมงศักดิ์สิทธิ์แทน เนื้อหาอันเป็นสาระสำคัญของบทอ่านดังกล่าวก็คือ ความหวังในการกลับคืนชีพและการที่พระแมสซิยาห์เสด็จเข้าสู่พลับพลาแห่งฟ้าสวรรค์ในฐานะผู้มีชัยเหนือความตาย

 

การกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้านี้ ได้มีการพูดถึงเป็นนัยๆอยู่แล้วในบทเพลงสดุดีและในคำทำนายของบรรดาประกาศกในพระธรรมเก่า การคืนชีพนี้อยู่เหนือทัศนะทั้งหลายของการเพียงแต่มีชีวิตอยู่ต่อไปและอยู่เหนือการยืดชีวิตบนแผ่นดินนี้ให้ยาวนานต่อไปอีก เพราะการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้าเป็นการเฉลิมฉลองการมีชีวิตความเป็นอยู่ในรูปแบบใหม่ ซึ่งพระธรรมใหม่ได้ชี้แสดงให้เห็นในหลายๆทัศนะที่แตกต่างกันออกไป

พระคริสตเจ้า มนุษย์แท้จริง ได้พิสูจน์พระองค์เองจนถึงขั้นที่ยอมสิ้นพระชนม์เพื่อจะได้มีชัยชนะเหนือความตายและบาป เพื่อให้ผู้ที่เชื่อในพระองค์ได้มีส่วนร่วมในชัยชนะดังกล่าวด้วย

บรรดาผู้ชอบธรรมของพระธรรมเก่าและมนุษย์ทุกคน ที่ได้แสวงหาพระเจ้าด้วยจิตใจที่ซื่อตรง กำลังจะได้เพบความสมบูรณ์ของชีวิตและสิ่งที่พวกเขาได้ตั้งความหวังไว้ในองค์พระคริสตเจ้า อาดัมคนใหม่

พระคริสตเจ้า มนุษย์ผู้ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า ไม่ได้ถูกทอดทิ้งให้แลเห็นความเน่าเปื่อยผูพัง แต่ว่าได้รับการชุบให้มีชีวิตจากพระจิตของพะเจ้าพระองค์ได้เสด็จสู่สวรรค์พลางประกาศพระเกียรติมงคลของพระผู้เป็นเจ้า และได้เผยแสดงพระองค์เองว่าเป็น “เจ้านายของสรรพสิ่ง ทั้งในสวรรค์ บนแผ่นดิน และใต้พิภพ”

 

โดยนัยนี้ สำหรับคริสตชน ความตายมิใช่จุดจบของชีวิต แต่ว่าเป็นชัยชนะเหนือขอบเขตจำกัดของเงื่อนไขต่างๆบนแผ่นดินนี้ของมนุษย์และเป็นการมีส่วนร่วมในชีวิตนิรันดร์ของพระเจ้า

 

และศีลล้างบาป ก็ป็นสัญญลักษณ์ที่เราคริสตชนจะต้องตรึงตัวเราเองพร้อมๆกับพระคริสตเจ้า เพื่อจะกลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาเป็นไทและได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระเจ้า

 

คืนศักดิ์สิทธิ์-คืนวันปัสกา

       เป็นธรรมประเพณีที่ได้รับสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่โบราณ ที่คืนนี้เป็นคืนแห่งการตื่นเฝ้าเป็นเกียรติแด่พระคริสตเจ้า (อพย 12: 42)

       ตามคำแนะนำของพระวรสาร (ลก12: 35) บรรดาสัตบุรุษจะถือตะเกียงหรือเทียนจุดไว้ในมือ เหมือนกับคนใช้ที่กำลังคอยเจ้านายกลับมา เพราะเมื่อเจ้านายกลับมาก็จะพบพวกเขากำลังตื่นเฝ้าอยู่และจะเชิญพวกเขาให้นั่งร่วมโต๊ะรับอาหารพร้อมกับพระองค์

       คืนวันปัสกาเป็นธรรมล้ำลึกอันยิ่งใหญ่สุดของชีวิตคริสตชน

       ศีลล้างบาปและศีลมหาสนิทซึ่งเป็นศูนย์กลางของพิธีกรรมในวันนี้ ช่วยเราให้มีจิตสำนึกว่าเราอยู่ในเหตุการณ์ของการช่วยให้รอดพ้นของพระผู้ไถ่จริงๆ

       จากค่ำคืนวันแห่งการกลับคืนพระชนมชีพนี้ พระคริสตเจ้าได้อยู่ท่ามกลางพวกเรา โดยอาศัยศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยอาศัยศีลมหาสนิท

       ค่ำคืนตื่นเฝ้าปัสกานี้ให้ความหมายว่าพระคริสตเจ้าผ่านจากความตายไปสู่ชีวิตโดยอาศัยขั้นตอนต่างๆของพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเริ่มจากในความมืด/บาป/ความตาย ไปสู่การได้รับการส่องสว่างด้วยไฟและเทียนอันหมายถึง “พระคริสตเจ้า องค์ความสว่างของชาวเรา” “Lumen Christi” เช่นเดียวกับที่พระศาสนจักรซึ่งเป็นพระกายทิพย์ของพระคริสต์และชุมชนของผู้มีความเชื่อ ได้ถูกนำให้ออกจากความมืดทางจิตวิญญาณไปยังความสว่างแห่งความจริงของพระองค์ การรับพิธีล้างของพระคริสตเจ้าก็เป็นแบบอย่างของศีลล้างบาปที่เราคริสตชนแต่ละคนได้รับ และน้ำแห่งศีลล้างบาปก็ได้รับการเสกในพิธีกรรมค่ำคืนนี้ด้วย พร้อมทั้งมีการจุ่มเทียนปัสกาลงไปในน้ำแห่งศีลล้างบาปซึ่งหมายถึงพระวรกายของพระคริสต์ที่จุ่มลงไปในธารน้ำนี้และบันดาลให้ธารน้ำนี้สามารถความศักดิ์สิทธิ์ให้กับผู้ที่สัมผัสกับธารน้ำนี้ด้วย

 

       ในระหว่างที่ประกอบพิธีกรรมซึ่งเชิญชวนให้เราได้รำลึกถึงการไว้ชีวิตชนชาวฮีบรู เพระที่บ้านของพวกเขาได้รับการสลักด้วยเลือดของลูกแกะ เราคริสตชนก็เช่นเดียวกันที่ได้รับการสาดน้ำเสกซึ่งจะทำให้เราสะอาดหมดจดจากบาปโดยอาศัยยัญบูชาของพระคริสต์ จากนั้นเราก็จะทำการรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลล้างบาปโดยจะยอมละทิ้งปีศาจและกิจการของมัน เราต่างมีความชื่นชมยินดีในการเสด็จกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้าจากความมืดของหลุมฝังศพ แล้วเราก็อธิษฐานภาวนาขอให้เราผ่านจากความตายไปสู่ชีวิตนิรันดร จากบาปไปสู่พระหรรษทาน จากความเหนื่อยล้าไปสู่การมีพละกำลัง และจากความอ่อนแอตามประสาผู้สูงอายุไปสู่พลังหนุ่ม จากความเจ็บปวดแห่งไม้กางเขนไปสู่สันติและเอกภาพกับพระเจ้า และจากโลกที่เต็มไปด้วยความบาปไปหาพระบิดาเจ้าในสรวงสวรรค์

 

การตื่นเฝ้าในคืนปัสกานี้จะประกอบด้วย

  1. พิธีกรรมสั้นๆ แห่งแสงสว่าง
  2. พระศาสนจักรรำพึงถึงสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆที่พระคริสตเจ้าได้กระทำสำเร็จเพื่อประชากรของพระองค์
  3. พิธีกรรมแห่งศีลล้างบาป
  4. สัตบุรุษได้รับการเชื้อเชิญไห้ไปรับประทานที่โต๊ะศักดิ์สิทธิ์ซึ่งพระคริสตเจ้าได้จัดเตรียมไว้ให้ โดยอาศัยการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์

สวัสดี…พ่อวีรศักดิ์

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube