• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2020-08-30 ทะเลาะกันไปทำไม

แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ

ทะเลาะกันไปทำไม

เชื่อว่าหลายคนคงต้องเคยผ่านเหตุการณ์การทะเลาะกับคนรอบข้างมาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกับเพื่อน คนในครอบครัว หรือคนรัก คุณมีวิธีการรับมือกับเหตุการณ์นั้นอย่างไรกันบ้าง มีเทคนิคง่ายๆ มาฝากกันครับ  

1. รับฟังและไม่ขัดจังหวะ

เชื่อเถอะว่าไม่มีใครชอบที่จะถูกขัดจังหวะในขณะที่เขาพูด ลองเปลี่ยนบทบาทเป็นฝ่ายนั่งฟังเขาพูดตั้งแต่ต้นจนจบดูสิ นอกจากเขาจะรู้สึกดีที่คุณรับฟังแล้ว ยังจะช่วยลดอารมณ์ร้อนในตัวเขาให้เย็นลงได้อีกด้วย

2. ทำความเข้าใจในสิ่งที่เขาพูด

นอกจากรับฟังแล้ว สิ่งที่คุณควรทำต่อมาคือ พยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่เขาพูด แม้ว่ามันจะดูไม่มีเหตุผลก็ตาม แต่เชื่อเถอะว่า ถ้าเขารู้สึกว่าคุณเข้าใจเขา การทะเลาะก็ย่อมจะจบลงเร็วกว่าที่คุณคิดไว้แน่นอน  

3. เก็บถ้อยคำอันร้ายกาจไว้   

บ่อยครั้งในยามโมโห เรามักจะลืมตัวหลุดถ้อยคำที่ไม่ทันคิดออกไป แล้วก็ต้องมานั่งเสียใจภายหลัง อย่าปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับคุณเชียว เพราะเมื่อพูดไปแล้ว เป็นการยากที่จะเรียกคำนั้นกลับคืนมา ทำใจเย็นๆ และเตือนสติตัวเองทุกครั้งก่อนที่จะปล่อยถ้อยคำรุนแรงออกไป เรื่องที่ว่าแย่จะได้ไม่ดูแย่ไปกว่านี้
          4. ลืมอดีตเสียบ้าง   

อดีตคืออดีต ปล่อยทิ้งไป เพราะหากคุณยังจมอยู่กับเรื่องราวความผิดพลาดในครั้งก่อนๆ แล้วหยิบมาโต้แย้งในยามที่ทะเลาะกัน นอกจากจะทำให้คุณไม่สามารถแก้ปัญหาของคุณกับเขาได้แล้ว ยังจะทำให้การทะเลาะบานปลายขึ้นไปอีก ให้นึกเสียว่าไม่มีใครที่ไม่เคยทำผิดพลาด ให้โอกาสเขาได้ปรับปรุงตัว และทำลืมๆที่จะพูดถึงความผิดย่อมจะดีกว่า

5. เรียนรู้ที่จะประนีประนอม   

ลองเปลี่ยนมาใช้วิธีการประนีประนอมแทนการพยายามที่จะเอาชนะกันดู แล้วคุณจะพบว่าความขัดแย้งนั้นลดน้อยลงอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ถ้ายังมีบางสิ่งที่คุณไม่เห็นด้วย ก็ให้ลองใช้วิธีพบกันครึ่งทาง คงไม่ทำให้คุณเสียศักดิ์ศรีเท่าไรหรอก

6. รับฟังความคิดเห็นของอีกฝ่าย   

การโต้เถียงกันส่วนใหญ่มักเป็นการโต้เถียงที่ต้องการให้อีกฝ่ายเห็นด้วยกับความคิดของตน ซึ่งก็คงเป็นไปไม่ได้ที่คนอื่นจะมีความคิดเห็นเหมือนกับคุณทุกเรื่องไป แม้ว่าคุณจะพยายามแล้วพยายามอีกที่จะอธิบายให้เขาคล้อยตามคุณ ในทางกลับกัน ถ้าคุณลองเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายรับเอาความคิดเห็นของเขามาทำความเข้าใจ นอกจากคุณจะได้แสดงให้เขาเห็นถึงการรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นแล้ว ยังจะทำให้ลดปัญหาที่จะนำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งได้อีกต่างหาก

7. นึกถึงความสัมพันธ์อันดีเข้าไว้   

บางครั้งอารมณ์ในยามทะเลาะกัน มักทำให้คุณลืมเลือนความสัมพันธ์ของอีกฝ่ายทิ้งไปชั่วขณะ โดยมุ่งแต่จะสรรหาถ้อยคำดุเดือดเผ็ดร้อนมาโต้ตอบกัน ลองเปลี่ยนเป็นนำความสัมพันธ์อันดีที่เคยมีระหว่างเขากับคุณมานึกถึงเป็นอันดับแรกในยามที่ทะเลาะกัน ถึงจะดูเหมือนคุณต้องเป็นฝ่ายยอมเขา แต่ก็ดูมีค่ากว่าการทำร้ายจิตใจของกันและกัน   

อ่านแล้วก็ลองนำไปใช้ ตอนนี้คุณอาจจะมองว่าไม่จำเป็น ก็ยังไม่ได้ทะเลาะกับใครนี่ แต่เชื่อเถอะว่ามนุษย์เราต้องมีสักครั้งที่จะต้องขัดใจกับคนรอบตัว ซึ่งอาจจะไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไร แต่ถ้าเรารู้วิธีที่จะรับมือกับเหตุการณ์นั้นแล้ว ต่อให้เหตุการณ์ร้ายแรงขนาดไหน คุณก็ย่อมจะผ่านไปได้อย่างสบายๆ

การให้อภัยคือการจดจำ

การให้อภัยมิใช่การลืม แท้จริงแล้วการให้อภัยคือการจดจำ

จดจำว่าไม่มีผู้ใดดีพร้อม

จดจำว่าเราทุกคนต่างๆเคยผิดพลาดมาทั้งนั้น

จดจำช่วงขณะที่เราเองก็ต้องการที่จะทำทุกอย่างให้ถูกต้อง

จดจำว่าเราต่างก็เคยกล่าวสิ่งที่เราไม่ควรกล่าว

จดจำว่าเราเองก็เคยลืมไปแล้วว่าความรักนั้นสำคัญกว่าความถูกต้อง

การให้อภัยคือการจดจำจริงๆ

จดจำว่าตัวเรานั้นมีความสำคัญกว่าความผิดพลาดที่เราทำมากนัก

จดจำว่าบ่อยครั้งเราต้องเป็นผู้เมตตาและห่วงใยมากกว่านี้

จดจำไว้ว่าการยอมรับข้อผิดพลาดของผู้อื่น จะช่วยให้เรายอมรับความผิดของเราเองได้

การให้อภัยคือการจดจำ

จดจำว่าความผิดพลาดต่างๆนั้นก็ดีเหมือนกัน

จดจำว่าเราเองต้องการการให้อภัยจากผู้อื่นด้วย

จดจำว่าบางครั้งชีวิตก็ได้อะไรหลายอย่างแก่เรา ที่เราควรรับไว้ด้วยความกตัญญู

การให้อภัยคือการจดจำ

จดจำว่าหัวใจของเรายังมีที่ว่างพอสำหรับ

การเริ่มต้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง

แล้วก็อีกครั้งหนึ่ง

แล้วก็อีกครั้งหนึ่ง

ที่มา : นิตยสารแม่พระยุคใหม่ ฉบับที่ 151

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube