• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2020-11-01 กฤษฎีกาเกี่ยวกับพระคุณการุณย์สำหรับผู้ล่วงลับ

แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ

ข่าวสำนักงานวินิจฉัยคดีฝ่ายจิตออกกฤษฎีกาเกี่ยวกับพระคุณการุณย์สำหรับผู้ล่วงลับ

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ยังคงมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

…………………………………………………………………………………….

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2020 โอกาสระลึกถึงนักบุญยอห์น ปอล ที่ 2 พระสันตะปาปา สำนักงานวินิจฉัยคดีฝ่ายจิต(Penitenzieria Apostolica) ได้ออกกฤษฎีกาเกี่ยวกับพระคุณการุณย์สำหรับผู้ล่วงลับในสถานการณ์ปัจจุบันที่ยังคงมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ลงนามโดยคาร์ดินัล เมาโร ปิอาเซนซา (Mauro Piacenza) โดยมีเนื้อหาสรุปได้ ดังนี้

พระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์อุทิศแก่วิญญาณในไฟชำระมอบให้ในกรณีที่คริสตชนปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. จากเดิมที่กำหนดช่วงเวลารับพระคุณการรุณย์เพียง 8 วัน คือ วันที่ 1-8 พฤศจิกายน สำหรับปีนี้ขยายช่วงเวลาเป็นตลอดเดือนพฤศจิกายน เมื่อคริสตชนไปเยี่ยมสุสานและสวดภาวนาด้วยความศรัทธา (แม้สวดในใจก็ได้) อุทิศแก่ดวงวิญญาณผู้ล่วงลับ

2. จากเดิมที่ระบุว่าในวันภาวนาอุทิศแด่ผู้ล่วงลับ (2 พฤศจิกายน) (หรือตามวินิจฉัยของพระสังฆราชท้องถิ่น, วันอาทิตย์ก่อนหรือหลังวันที่ 2 พฤศจิกายน หรือในวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย) เมื่อคริสตชนไปเยี่ยมวัด หรือ วัดน้อย (Oratory) ด้วยความศรัทธา พร้อมทั้งสวดบทข้าแต่พระบิดาและบทข้าพเจ้าเชื่อ (Creed) สำหรับปีนี้หากคริสตชนคนหนึ่งคนใดไม่สามารถปฏิบัติได้ในวันที่กล่าวข้างต้น เขายังรับพระการุณย์ครบบริบูรณ์อุทิศแก่ผู้ล่วงลับในวันใดวันหนึ่งของเดือนพฤศจิกายนที่เขาสามารถปฏิบัติได้

และเพิ่มเติมคือ

3. สำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และผู้ไม่สามารถออกจากบ้านได้ด้วยเหตุผลที่หนักแน่นสามารถรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์เพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ โดย การภาวนาอุทิศแก่ผู้ล่วงลับต่อหน้าพระรูปพระเยซูเจ้า หรือ พระรูปแม่พระ และร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวกับคริสตชนอื่นๆ และมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของการรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ คือ การรับศีลอภัยบาป การรับศีลมหาสนิท และการสวดตามพระประสงค์ของพระสันตะปาปา ทันทีที่สามารถปฏิบัติได้ กฤษฎีกาฉบับนี้ยังได้ให้ตัวอย่างของการสวดภาวนาอุทิศแก่ผู้ล่วงลับแบบอื่นๆ ด้วย เช่น การสวดทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็นอุทิศแก่ผู้ล่วงลับ การสวดสายประคำ การสวดสายประคำพระเมตตา การรำพึงบทอ่านจากพระวรสารของพิธีกรรมสำหรับผู้ล่วงลับ หรือ ปฏิบัติงานเมตตาจิตโดยถวายความเจ็บป่วยและความยากลำบากของพวกเขาแด่พระเจ้า

กฤษฎีกาฉบับนี้ยังเชิญชวนให้พระสงฆ์ถวายมิสซา 3 มิสซาในวันภาวนาอุทิศแก่ผู้ล่วงลับ เนื่องจากมิสซาเป็นคำภาวนาที่ดีที่สุดเพื่ออุทิศแก่วิญญาณของผู้ล่วงลับ ทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้สัตบุรุษได้มาร่วมมิสซาอุทิศแก่ผู้ล่วงลับได้อย่างทั่วถึง (เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้หลายประเทศต้องกำหนดจำนวนของผู้เข้าร่วมมิสซาในแต่ละรอบ) นอกจากนั้น ยังเชิญชวนพระสงฆ์ให้มุ่งอภิบาลด้วยความเมตตาต่อการโปรดศีลอภัยบาป และการส่งศีลมหาสนิทแก่ผู้ป่วย

 

เงื่อนไขการขอพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์อุทิศแก่วิญญาณผู้ล่วงลับ

1. มีเจตนาที่จะขอรับพระคุณการุณย์อุทิศแก่วิญญาณผู้ล่วงลับ

2. ปฏิบัติตามกิจกรรมดังที่กล่าวไว้ข้างต้นอย่างศรัทธาเพื่อที่จะขอพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ดังกล่าว

3. ปฏิบัติศาสนกิจ ดังนี้

– รับศีลอภัยบาป(สามารถรับศีลอภัยบาปภายหลังในช่วงเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์)

– รับศีลมหาสนิท(สามารถรับศีลมหาสนิทภายหลังในช่วงเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์)

4. สวดเพื่อพระสันตะปาปาและตามพระประสงค์ของพระสันตะปาปา

       

หมายเหตุ

คริสตชนสามารถขอรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ได้วันละ1 ครั้ง

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube