• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2024-08-25 บทสนทนาจากเจ้าอาวาส

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้ดำเนินการเพื่อเปิดศูนย์ประกาศข่าวดี คำว่าศูนย์ประกาศข่าวดี อาจจะเป็นคำใหม่ที่พวกเราเพิ่งจะได้ยิน เมื่อได้อ่านเรื่องราวการแพร่ธรรมของบรรดามิชชันนารีในยุคบุกเบิก ได้มองเห็นวิธีการที่บรรดามิชชันนารีปฏิบัติ ก็คือพวกเขาจะเดินทางไปเยี่ยมชุมชนชาวจีน เวลานั้นก็เป็นเพียงกลุ่มคนที่จะสอนเรื่องศาสนาและความเชื่อได้ ก่อนที่จะเริ่มเป็นวัดต่างๆ ก็จะมีกลุ่มคนที่คุณพ่อมิชชันนารีไปเยี่ยม บางแห่งก็ส่งครูคำสอนไปช่วยสอนคำสอน จากนั้นจึงค่อยๆ เติบโตเป็นวัดในภายหลัง วัดทุกแห่งจะเป็นแบบนี้ มีจุดเริ่มต้นแบบนี้ทั้งนั้น ในเวลานั้นพระสงฆ์ที่ประจำที่วัดอัสสัมชัญ วัดกาลหว่าร์ วัดสามเสนก็ดี จะออกเดินทางไปพบปะ เยี่ยมเยียน และสอนคำสอน หลังจากที่มีจำนวนมากพอสมควร คนที่มีความเชื่อที่เข้มแข็งแล้ว ก็จะโปรดศีลล้างบาป และเมื่อมีจำนวนมากขึ้นก็จะเริ่มสร้างวัด วัดหลังแรกที่สร้างก็อาจจะไม่ได้ใหญ่โตอะไร เมื่อมีคริสตชนมากขึ้น ชุมชนเข้มแข็งขึ้นก็จะมีการสร้างวัดที่มั่นคงแข็งแรงในเวลาต่อมา
เป็นความตั้งใจของพระศาสนจักรท้องถิ่นทุกแห่งและของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ที่อยากจะให้มีวัดกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ศูนย์ประกาศข่าวดีที่สร้างขึ้นก็เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก ให้บรรดาพระสงฆ์และบรรดาผู้ที่สนใจจะได้ใช้สถานที่นั้น ได้มาร่วมทำกิจกรรมต่างๆ เริ่มงานแพร่ธรรม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วม รูปแบบของกิจกรรมเพื่อการแพร่ธรรมอาจจะเปลี่ยนไปจากเดิม จากที่บรรดาคุณพ่อมิชชันนารีไปเยี่ยมบ้านสัตบุรุษ สอนคำสอนที่บ้าน ซึ่งในยุคสมัยปัจจุบันคงทำแบบนั้นไม่ได้ ที่คนในสังคมมักจะไม่ต้อนรับคนแปลกหน้า เมื่อได้พบกันก็มักจะเกิดความหวาดระแวง ไม่ไว้วางใจ ศูนย์ที่ตั้งขึ้นก็จะทำหน้าที่สร้างความมั่นใจ เป็นสถานที่ที่จะสร้างบรรยากาศของความเข้าใจ ความร่วมมือ การแบ่งปัน การช่วยเหลือ ทั้งการเรียนรู้ ยอมรับทุกคนที่เข้ามายังศูนย์ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการประกาศเรื่องราวของพระเยซู นำไปสู่การกลับใจ การรู้จักและยอมรับพระเจ้า
สัปดาห์ที่แล้วพระคุณเจ้าวีระ อาภรณ์รัตน์ ได้มาถวายมิสซา และในบทเทศน์ ช่วงหนึ่ง พระคุณเจ้าได้พูดถึงวัดแม่พระอัสสัมชัญ แม่ปอน ตั้งอยู่ที่ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ วัดแม่ปอนนี้เป็นวัดหลังที่ 2 ของสังฆมณฑลเชียงใหม่ วัดครั้งแรกคือวัดพระหฤทัย เชียงใหม่ วัดแม่ปอน สร้างมา 70 ปีแล้ว เป็นวัดที่มีชื่ออัสสัมชัญเหมือนกับวัดของเรา ที่วัดแม่ปอนแห่งนี้ ยังเป็นสถานที่ที่คุณพ่อมิชชันนารี คณะเบธาราม ได้ตั้งศูนย์เพื่อช่วยเหลือเด็กๆ ที่ในที่อยู่ในหมู่บ้านห่างไกล ได้มาพักอาศัยและจัดให้พวกเขาได้มีโอกาสเรียนหนังสือ ประมาณกว่า 20 ปี มาแล้ว ที่วัดต่างๆในเขต 1 และพวกเราได้มีส่วนร่วมช่วยสนับสนุนกิจการของศูนย์ฯ แห่งนี้ โดยการรณรงค์ขอให้พี่น้องสัตบุรุษได้ช่วยกันบริจาคและส่งเงินไปเพื่อช่วยเหลือเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งเราทำเรื่อยมาทุกปี ด้วยการสนับสนุนช่วยเหลือซื้อข้าวสารและสิ่งของจำเป็นต่างๆ พวกเราอาจจะไม่ได้อยู่ในโอกาสที่จะทำงานแพร่ธรรมโดยตรง แต่ก็สามารถช่วยเหลือในรูปแบบที่ทำได้ ด้วยการสวดภาวนาวอนขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าและด้วยการบริจาค ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้กิจการต่างๆดำเนินไปและบังเกิดผล.

สวัสดี…พ่ออดิศักดิ์

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube