แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ ประวัติพระคาร์ดินัลแฟร์นันโด ฟีโลนี สวัสดีครับพี่น้องที่รักสัปดาห์นี้ของการฉลอง350 ปีแห่งการสถาปนามิสซังสยาม(1669-2019) […]
แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ ประวัติพระคาร์ดินัลแฟร์นันโด ฟีโลนี สวัสดีครับพี่น้องที่รักสัปดาห์นี้ของการฉลอง350 ปีแห่งการสถาปนามิสซังสยาม(1669-2019) […]
แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ โอกาสครบ 35 ปี การเสด็จเยือนประเทศไทย ของนักบุญยอห์นปอลที่ 2 พระสันตะปาปา 10-11 พฤษภาคม […]
แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ อัฐมวารปัสกาสัปดาห์สีขาว หลังจากที่เราใช้เวลายาวนา 40 วันตลอดเทศกาลมหาพรตเพื่อเตรียมฉลองปัสกาและยังเตรียมอย่างเข้มข้นในช่วงสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์เมื่อถึงวันสมโภชปัสกาซึ่งเป็นวันฉลองที่สำคัญที่สุดพระศาสนจักรก็ปรารถนาให้เราได้ฉลองยาวนานต่อเนื่องไปอีก8 วันซึ่งเรียกช่วงเวลานี้ว่า“อัฐมวาร”(จากวันอาทิตย์ปัสกาถึงวันอาทิตย์ถัดมา) สมัยก่อนคริสตชนใหม่ที่รับศีลล้างบาปในคืนตื่นเฝ้าจะสวมชุดขาวมาวัดทุกวันต่อเนื่อง8 วันจนถึงวันอาทิตย์ถัดมาจึงถอดชุดขาวเราจึงเรียกสัปดาห์นี้ว่า“สัปดาห์สีขาว” มีความพิเศษ3 ประการในมิสซาระหว่างอัฐมวาร […]
แทน คิดสักนิด…สะกิดใจ 25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า […]
วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ระลึกถึงพระทรมานของพระเยซูเจ้า พิธีกรรมสำคัญของวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์คือพิธีระลึกถึงพระทรมานของพระเยซูเจ้าที่มีการอ่านบทพระมหาทรมานอีกครั้งมีบทภาวนาเพื่อมวลชนแบบดั้งเดิมและการนมัสการไม้กางเขนต่อด้วยการรับศีลมหาสนิท เดิมนั้นระบุว่าหากเห็นเหมาะสมและสามารถทำได้ให้ประกอบพิธีนี้เวลาบ่ายสามโมงแต่ปัจจุบันเพื่อการอภิบาลซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญคือให้สัตบุรุษสามารถมาร่วมพิธีได้อย่างพร้อมเพรียงจึงเลื่อนเป็นเวลาอื่นได้ เวลา“บ่ายสามโมง”นั้นมีที่มาและมีความหมายความหมายแรกที่พวกเราคุ้นเคยดีคือเป็นเวลาที่พระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนและทำไมต้องเป็น“บ่ายสามโมง”มีความหมายเชิงสัญลักษณ์ในพระคัมภีร์เสมอโดยปกติชาวยิวเมื่อเขามาถวายเครื่องบูชายามเย็นที่พระวิหารคือมาถวายแกะเขาจะนำแกะไปเตรียมณสถานที่ที่อยู่ไม่ไกลนักจากพระวิหารแกะที่จะนำไปถวายจะถูกฆ่าเวลา“บ่ายสามโมง”คือเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับเตรียมแกะเป็นเครื่องบูชายามเย็นและพระเยซูเจ้าคือ“ลูกแกะที่ถูกฆ่า”เพื่อไถ่บาปนำความรอดพ้นมาสู่มวลมนุษย์ เสาร์ศักดิ์สิทธิ์คืนตื่นเฝ้า ในวันนี้พระศาสนจักรจะรำพึงถึงการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้าทรงอยู่ในคูหาและเสด็จลงไปยังแดนผู้ตายส่วนเราคริสตชนก็จะตื่นเฝ้าปัสกา(Easter Vigil)ด้วยพิธีกรรมที่สำคัญที่สุดในรอบปีพิธีกรรมของคริสตชน พิธีกรรมในค่ำคืนนี้จะร่ำรวยด้วยสัญลักษณ์ต่างๆที่มีความหมายพิเศษแบ่งเป็น4 ภาคด้วยกันคือ1) ภาคแสงสว่างที่จะมีการเสกไฟแห่เทียน […]
แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ เคล็ดลับ4 ประการสำหรับคู่หมั้นก่อนแต่งงาน – วันอาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์เราระลึกถึง“วันแต่งงานโลก” มีหลักสูตรอบรมก่อนแต่งงานมากมายเพื่อเตรียมคู่แต่งงานหนุ่มสาวถึงกระนั้นก็ยังมีการวางแผนหรือบริษัทรับจัดงานแต่งงานอย่างเร่งรีบแต่ก็ยังต้องระลึกถึงแก่นแท้สำคัญก่อนที่จะกล่าว“ข้าพเจ้ายินดีรับ” ในการแต่งงานนั้น – คุณพ่อมาวริซีโอบอตตาจากคณะคำเทศนาของนักบุญฟิลิปเนรี(the Congregation […]
แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ RCIA – Rite of Christian Initiation of Adults (พิธีรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนคาทอลิก) […]
วันอาทิตย์แห่งจิตชื่นชม มหาพรตเป็นช่วงเวลาแห่งการเดินทางฝ่ายจิตที่คริสตชนทุกคนต้องออกแรงโดยเฉพาะ“แรงใจ” สำหรับการภาวนาพลีกรรมสำนึกผิดกลับใจและใช้โทษบาปโดยมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การฉลองปัสกาที่รออยู่ข้างหน้าด้วยความยินดีอย่างเปี่ยมล้น เมื่อเทศกาลมหาพรตซึ่งยาวนาน6 สัปดาห์เดินทางมาถึงสัปดาห์ที่4 ในวันอาทิตย์นี้นั่นก็หมายความว่าเราได้ผ่านเทศกาลนี้มา“เกินครึ่งทาง”แล้วอีกไม่นานเราจะได้เข้าสู่สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์และมุ่งสู่พิธีกรรมในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของพระศาสนจักรคาทอลิกคือ“ตรีวารปัสกา” เมื่อเทศกาลมหาพรตผ่านมาเกินครึ่งทางพระศาสนจักรก็ปรารถนาจะสื่อกับเราผ่านทางการฉลองพิธีกรรมว่าวันฉลองสำคัญยิ่งของชีวิตความเชื่อคริสตชนกำลังจะมาถึงแล้วเราได้เตรียมใจกันมาจนเกินครึ่งทางแล้วพระศาสนจักรสื่อกับเราโดยใช้สัญลักษณ์นั่นก็คืออาภรณ์พิธีกรรม(ชุดกาสุลาที่พระสงฆ์สวมประกอบพิธีมิสซา) เปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีกุหลาบ(สีบานเย็น) อันหมายถึง“ความยินดีปรีดาในจิตใจของเรา” ที่เกิดขึ้นเพราะเราใกล้จะได้ฉลองปัสกาแล้ว […]
วันธรรมดาในเทศกาลมหาพรต ปกติแล้วมิสซาวันธรรมดาพระสงฆ์จะใช้บทภาวนาของวันอาทิตย์นั้นๆไปตลอดทั้งสัปดาห์แต่ในเทศกาลมหาพรตจะมีบทภาวนาเฉพาะของแต่ละวันซึ่งบทภาวนาของประธานแต่ละวันก็ล้วนมุ่งเน้นย้ำให้ประชาสัตบุรุษมีจิตใจมั่นคงในความเชื่อสำนึกผิดกลับใจฯลฯ ที่พิเศษเพิ่มเติมดังปรากฏในหนังสือพิธีกรรมฉบับใหม่คือในตอนท้ายของมิสซาจะมีบทอวยพรประชากร(เลือกสวดหรือไม่สวดก็ได้,ไม่บังคับ) บทอวยพรประชากรนี้มีที่มาคือในสมัยก่อนคนที่ออกเดินทางไกลเช่นกลาสีออกเรือทหารออกรบจะมาหาพระสังฆราชให้ช่วยอวยพรพิเศษเพื่อให้พวกเขาพ้นจากภยันตรายใดๆต่อมาเริ่มมีการอวยพรแก่สัตบุรุษเป็นพิเศษทุกๆวันตลอด40 วันของเทศกาลมหาพรตเพราะเป็นช่วงเวลาที่เราต้องเพียรพยายามเอาชนะการประจญการล่อลวงรวมทั้งอันตรายใดๆโดยเฉพาะทางด้านจิตใจดังนั้นมหาพรตเป็นเสมือนช่วงเวลาของการเดินทางฝ่ายจิตเป้าหมายคือการฉลองปัสกาซึ่งเราจะต้องประคองชีวิตให้อยู่ในความดีอยู่ในศีลในพรของพระเพื่อจะได้ฉลองปัสกาด้วยความชื่นชม ยินดีอย่างแท้จริง บทอวยพรประชากรนี้พระสงฆ์จะสวดตอนท้ายมิสซาเมื่อทักทาย”พระเจ้าสถิตกับท่าน“และสัตบุรุษตอบรับแล้วก็จะสวดบทนี้ต่อด้วยการอวยพรและกล่าวปิดพิธี มหาพรตเวลาแห่งการคืนดี เทศกาลมหาพรตคือช่วงเวลาแห่งการไตร่ตรองชีวิตด้วยความสุภาพถ่อมตนสำนึกในความผิดบาปของเราและปรารถนาจะคืนดีกับพระกับเพื่อนพี่น้องและกับตนเอง จึงเป็นคำแนะนำอย่างแข็งขันที่วัดแต่ละแห่งจะมุ่งให้ความสำคัญกับศีลอภัยบาปคือเอื้ออำนวยให้สัตบุรุษได้มาคืนดีกับพระทั้งด้วยการโปรดศีลอภัยบาปปกติและจัดวจนพิธีกรรมศีลอภัยบาปหรืออาจจะเชิญพระสงฆ์จากต่างวัดมาช่วยโปรดศีลอภัยบาป(สลับ,แลกเปลี่ยนกัน) […]
แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ ธรรมเนียมการคลุมผ้า ไม้กางเขนและรูปศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ในระหว่างมหาพรต แม้ธรรมเนียมการคลุมผ้าไม้กางเขนและรูปศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ นั้นไม่ได้ถูกระบุว่าเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติตั้งแต่หลังสังคายนาวาติกันที่ 2 […]