• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

Category: บทสนทนาจากเจ้าอาวาส

2020-12-06 ข้อคิดอาทิตย์ที่ 2 เตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า ปี B

ข้อคิดอาทิตย์ที่ 2 เตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า ปี B มก1: 1-8…จงเตรียมทางขององค์พระผู้เป็นเจ้าจงทำทางเดินของพระองค์ให้ตรงเถิด…ภายหลังข้าพเจ้ามีท่านหนึ่งเสด็จมาทรงอิทธิฤทธิ์ยิ่งกว่าข้าพเจ้าอีกซึ่งข้าพเจ้าไม่คู่ควรแม้แต่จะน้อมตัวลงแก้สายฉลองพระบาทให้… ท่านยอห์นแบปติสต์ได้บอกกับผู้คนร่วมสมัยกับท่านว่า“มีผู้หนึ่งอยู่ท่ามกลางพวกเราซึ่งพวกท่านไม่รู้จัก” (ยน1: 26-27)…ท่านกำลังพูดถึงพระเยซูเจ้าซึ่งอยู่ท่ามกลางประชาชนแต่พวกเขากลับไม่รู้จักพระองค์…ในขณะนี้ที่เรากำลังร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณก็เป็นองค์พระเยซูเจ้าซึ่งกำลังประทับอยู่ท่ามกลางพวกเราเช่นเดียวกัน ข้อคิด…ในพระวรสารของวันอาทิตย์นี้เราจะได้ยินเสียงร้องอันโดดเดี่ยวแต่เต็มไปด้วยพลังของท่านยอห์นแบปติสต์ซึ่งกำลังเรียกร้องให้เราได้เตรียมหนทางขององค์พระผู้เป็นเจ้านี่หมายความว่าเราจะต้องพยายามหาเวลาว่างในชีวิตของเราที่กำลังยุ่งอยู่กับการงานและธุระต่างๆของเรารวมทั้งให้จัดสรรพื้นที่ในหัวใจของเราให้ว่างสำหรับต้อนรับพระองค์ ในบทอ่านแรกจากหนังสือของประกาศกอิสยาห์(อสย40: […]

อ่านต่อ

2020-11-29 ข้อคิดวันอาทิตย์ที่ 1 เตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า ปี B

ข้อคิดวันอาทิตย์ที่ 1 เตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า ปี B มก13: 33-37; 1คร1: 3-9…จงตื่นเฝ้าเถิดเพราะท่านไม่รู้ว่าเจ้าของบ้านจะมาเมื่อไร…และในขณะที่รอคอยการเสด็จมาของพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าเป็นช่วงเวลาของการตื่นเฝ้าระวังเป็นช่วงเวลาแห่งการรอคอยการเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่งของพระคริสตเจ้าองค์พระตุลาการสูงสุดณวันสิ้นโลกและเรายังคอยการเสด็จมาของพระองค์ณเวลาที่เราจะต้องลาจากโลกนี้อีกด้วยเนื่องจากว่าทั้งสองช่วงเวลานี้ได้ถูกปิดบังไว้สำหรับพวกเราเราจึงต้องอยู่ในสภาพของการเตรียมตัวให้พร้อมและด้วยการตื่นเฝ้าอยู่เสมอเพื่อพร้อมที่จะพบกับพระองค์ณเวลาใดก็ได้ ข้อคิด…เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าเป็นการเตรียมตัวเตรียมจิตใจพวกเราสำหรับการสมโภชพระคริสตสมภพและเพื่อจะช่วยเราให้ได้เข้าใจข่าวดีของวันพระคริสตสมภพเราต้องเริ่มจากจุดเริ่มต้นของพระคริสตสมภพนี้คือเริ่มจากประวัติศาสตร์ของการช่วยให้รอดพ้นตั้งแต่การสร้างโลกเลยทีเดียวดังนั้นพิธีกรรมของการเตรียมสมโภชพระคริสตสมภพจะเป็นการทำให้ประวัติศาสตร์ของการช่วยให้รอดพ้นได้รับการฟื้นฟูให้มีชีวิตชีวาขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่งทุกๆปีโดยการมองพระคริสตสมภพนี้ผ่านทางความเชื่อของคริสตชนซึ่งจะทำให้แลเห็นว่าข่าวดีของประวัติศาสตร์แห่งการช่วยให้รอดพ้นนี้  จะนำเราไปสู่องค์พระเยซูคริสตเจ้าเพราะว่าพระองค์ทรงเป็นพระผู้ที่ได้ทำให้บรรดาคำทำนายต่างๆถึงพระแมสสิยาห์ในพระธรรมเก่าได้สำเร็จไป […]

อ่านต่อ

2020-11-22 ข้อคิดวันสมโภชพระเยซูเจ้า กษัตริย์แห่งสากลจักรวาล

ข้อคิดวันสมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล (อาทิตย์ที่สามสิบสี่เทศกาลธรรมดาปีA) มธ25: 31-46…บุตรแห่งมนุษย์จะประทับเหนือพระบัลลังค์อันรุ่งโรจน์…พระองค์จะทรงแยกบรรดาประชาชาติออกเป็นสองพวก…และจะตรัสกับผู้ที่อยู่เบื้องขวาว่า“เชิญมาเถิดท่านทั้งหลายที่ได้รับพระพรจากพระบิดาของเรา”… ในวันนี้พระศาสนจักรทำการสมโภชพระเยซูคริสตเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล…เมื่อเราคิดถึงกษัตริย์เราก็มักจะคิดถึงบุคคลซึ่งปกครองดูแลประชาชนและมีอำนาจเหนือพวกเขา…แต่ว่าพระคริสตเจ้ามิได้เป็นเช่นนั้นพระองค์มิได้เสด็จมาในโลกเพื่อที่จะมีอำนาจเหนือพวกเขาแต่เพื่อจะรับใช้มากกว่าดังนั้นเพื่อจะเป็นการแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีของเราที่มีต่อพระองค์ในโอกาสสมโภชนี้ก็คือให้เรารับใช้พระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ด้วยกันตามแบบฉบับของพระองค์ ข้อคิด…ในภาพของการพิพากษาสุดท้ายในพระวรสารของนักบุญมัทธิวในอาทิตย์สุดท้ายของเทศกาลธรรมดาที่พระศาสนจักรนำเสนอให้นั้นเป็นการสมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาลซึ่งควรจะต้องเป็นภาพของกษัตริย์และตุลาการที่แสดงความอ่อนโยนตามที่ท่านประกาศกเอเสเคียลในบทอ่านที่หนึ่งได้บรรยายให้เราได้แลเห็นในบทบาทของคนเลี้ยงแกะที่ดีซึ่งในขณะที่กำลังเฝ้าดูแลแกะทุกๆตัวในฝูงก็ได้แสดงความเอาใจใส่เป็นพิเศษต่อแกะที่อ่อนแอและไม่สบายนี่เป็นภาพลักษณ์ที่องค์พระคริสตเจ้ามักจะใช้พรรณนาพระบุคคลและภารกิจของพระองค์เอง…เป็นภาพของการรับใช้“พี่น้องผู้ต่ำต้อย”   คำพูดที่น่าจดจำของคุณแม่เทเรซาซึ่งได้กล่าวว่า“โรคภัยที่เลวร้ายที่สุดบนโลกใบนี้ในทุกวันนี้ก็คือความรู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นที่ต้องการของสังคมและความชั่วร้ายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็คือการขาดความรักสิ่งที่คนยากจนน่าสงสารต้องการมากกว่าอาหารเสื้อผ้าและที่พักพิงอาศัยก็คือให้ตัวเองเป็นบุคคลที่สังคมยอมรับ” ดังนั้นพระวาจาของพระคริสตเจ้าจึงเป็นพระวาจาที่บรรดาคริสตชนควรจะต้องจดจำไว้และนำเอาไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน        ไม่น่าแปลกใจที่ในการพิพากสุดท้ายที่พระเยซูเจ้าจะบอกเราว่า…กษัตริย์จะตรัสแก่ผู้ที่อยู่เบื้องซ้ายว่า “จงไปให้พ้น…เพราะว่าเราหิวมิใช่หิวอาหารแต่ว่าหิวการยิ้มต้อนรับแต่เจ้ากลับทำเป็นเมินเฉย…เราหิวคำพูดที่ให้กำลังใจแต่เจ้ากลับด่าว่าเรา […]

อ่านต่อ

2020-11-15 ข้อคิดอาทิตย์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา ปี A

ข้อคิดอาทิตย์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา ปี A มธ25: 14-30…ดีมากผู้รับใช้ที่ดีและซื่อสัตย์เจ้าซื่อสัตย์ในสิ่งเล็กน้อยเราจะให้จัดการในเรื่องใหญ่ๆจงมาร่วมยินดีกับนายของเจ้าเถิด… พวกเราแต่ละคนซึ่งมาชุมนุมกันอยู่รอบๆพระแท่นบูชาขององค์พระเยซูคริสตเจ้าไม่มีใครที่เหมือนกันกับอีกคนหนึ่งในทุกอย่างและในทุกเรื่องพระเจ้าได้ทรงประทานพระพรให้แก่แต่ละคนไม่เหมือนกันถ้าหากเราจะใช้พระพรเหล่านี้อย่างดีก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งแก่ตัวเราเองและแก่คนอื่นด้วย…มีใครบ้างในพวกเราที่สามารถพูดได้ว่าเราได้ใช้พระพรแห่งพระหรรษทานและธรรมชาติที่พระเจ้าได้ทรงประทานมาให้อย่างดีมีประโยชน์? ข้อคิด…ขณะที่กำลังใกล้จะสิ้นสุดปีพิธีกรรมพระศาสนจักรผู้เป็นมารดาและมีความหวังดีต่อลูกๆของท่านก็อยากจะเตือนสอนลูกๆของท่านให้คิดถึง“เหตุสุดท้าย” ของมนุษยชาติคือความตายการพิพากษาสวรรค์และนรกและเตรียมตัวอย่างดีและเหมาะสมในการรับมือกับสถานการณ์ที่ว่านี้อันจะเกิดขึ้นเมื่อใดและอย่างไรกับตัวเราในบั้นปลายแห่งชีวิตไม่มีใครรู้…นักบุญเปาโลเชื่อว่าการเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่งของพระเยซูคริสตเจ้ากำลังจะมาถึงในเร็วๆนี้ดังนั้นท่านจึงเร่งรัดให้ชาวเธสะโลนิกาให้ตื่นเฝ้าเตรียมพร้อมอยู่เสมออย่างไรก็ตามแม้นักบุญมัทธิวจะยอมรับว่าการเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่งของพระเยซูเจ้าอาจจะถูกชะลอให้ช้าลงไปบ้างแต่ถึงกระนั้นท่านนักบุญก็ได้พูดถึงความจำเป็นที่จะต้องตื่นเฝ้าเตรียมพร้อมเช่นเดียวกันจึงในอุปมาเรื่องเงินตะลันต์ท่านนักบุญได้ชี้แจงว่าการตื่นเฝ้าเตรียมพร้อมที่ว่านี้หมายความว่าอย่างไร…การตื่นเฝ้าเตรียมพร้อมคือการนำเอาพระวาจาขององค์พระเยซูเจ้ามาปฏิบัติอย่างไม่รอช้าและอย่างเต็มความสามารถส่วนในบทอ่านที่หนึ่งจากหนังสือสุภาษิตนั้นก็ได้กล่าวถึงหญิงซึ่งเป็นแบบอย่างชีวิตที่ดียอดเยี่ยมเพราะเธอได้ใช้พระพรหรือความสามารถที่พระเจ้าได้ทรงประทานให้อย่างขยันขันแข็งและอย่างมีคุณธรรม ในพระวรสารวันนี้เราได้ยินได้ฟังเรื่องของบุรุษผู้หนึ่งซึ่งกำลังจะออกเดินทางไกลจึงเรียกผู้รับใช้มามอบทรัพย์สินให้ดูแลส่วนผู้รับใช้จะเอาทรัพย์ไปทำอะไรไปทำอย่างไรก็เป็นเรื่องของการริเริ่มของพวกเขาแต่ละคนและในผู้รับใช้ทั้งสามคนที่พระวรสารเอ๋ยถึงนั้นเป็นคนที่สามหรือคนสุดท้ายที่พระวรสารได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษซึ่งเชื่อว่าวิธีการที่ปลอดภัยที่สุดก็คือเอาทรัพย์สินของเจ้านายไปฝังไว้ในดินและเมื่อนายกลับมาก็จะไปขุดเอามาคืนให้เจ้านายได้ดังเดิม เราจะเห็นว่าในเรื่องอุปมานี้พระเยซูเจ้ากำลังพุ่งประเด็นไปที่พวกคัมภีราจารย์และชาวฟาริสีซึ่งคิดแต่จะรักษาธรรมบัญญัติไม่ให้ใครแตะต้องได้โดยไม่ยอมให้มีการยืดหยุ่นหรือปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆของสังคมด้วยท่าทีแบบนี้ของพวกเขาพระเยซูเจ้าจึงได้ทรงตำหนิพวกเขาอย่างรุนแรงว่าเป็นการทำร้ายและทำลายชีวิตของประชาชน […]

อ่านต่อ

2020-11-08 ข้อคิดอาทิตย์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา ปี A

ข้อคิดอาทิตย์ที่ 32เทศกาลธรรมดา ปี A มธ25: 1-13…เจ้าบ่าวมาแล้วจงออกไปต้อนรับกันเถิด… คริสตชนทุกคนเปรียบเสมือนคนถือตะเกียงที่ส่องแสงสว่างของพระคริสตเจ้าส่องสว่างให้กับโลกที่มืดมนแต่ว่าบ่อยๆครั้งเราก็คงเหมือนกับหญิงโง่ในพระวรสารวันนี้ที่ปล่อยให้แสงสว่างอันสุดประเสริฐของพระเยซูเจ้านี้ต้องริบหรี่ลงหรือบางทีก็ดับมอดไปเลยในชีวิตของเรา ข้อคิด…บทอ่านแรกจากหนังสือปรีชาญาณ(ปชญ6: 12-16) เป็นการชื่นชมปรีชาญาณซึ่งในวันนี้ได้ถ่ายทอดลงไปในบุคคลของหญิงฉลาดทั้งห้าคนในพระวรสาร…ในขณะที่นักบุญเปาโลกำลังรอคอยการเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่งขององค์พระคริสต์ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้าส่วนนักบุญมัทธิวในพระวรสารก็ยอมรับว่าการเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่งของพระเยซูเจ้านั้นอาจจะต้องล่าช้าไปเพราะเป้าหมายของเรื่องอุปมานี้อยู่ที่บรรดาศิษย์ของพระเยซูเจ้าซึ่งไม่รู้วันหรือเวลาของการเสด็จมาขององค์พระผู้เป็นเจ้าดังนั้นพวกเขาต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อว่าเมื่อพระองค์จะเสด็จมาพวกเขาจะได้สามารถเข้าสู่พระอาณาจักรพระเจ้าพร้อมกับพระองค์ การเตรียมตัวให้พร้อมหมายถึงการเป็นผู้ปฏิบัติมากกว่าที่จะเป็นเพียงผู้ฟังพระวาจาเท่านั้น คงจะเป็นเรื่องที่น่าสะพรึงกลัวมากสักเพียงใดเมื่อมาถึงที่หน้าประตูสวรรค์เคาะประตูเพื่อที่จะเข้าไป…พระเยซูเจ้าเดินออกมาแล้วทรงตรัสกับเราว่า“เราไม่รู้จักท่าน” […]

อ่านต่อ

2020-11-01 ข้อคิดวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย 1 พฤศจิกายน

ข้อคิดวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย 1 พฤศจิกายน มธ5: 1-12ก…“เชิญมาเถิดท่านทั้งหลายที่ได้รับพระพรจากพระบิดาของเราเชิญมารับอาณาจักรเป็นมรดกที่เตรียมไว้ให้ท่านแล้วตั้งแต่สร้างโลก”… ในวันนี้ซึ่งเป็นวันสมโภชนักบุญทั้งหลายให้เรามุ่งความสนใจของเราไปที่ผู้คนเหล่านั้นซึ่งได้เป็นนักบุญในวิถีทางที่ธรรมดาๆและซ่อนเร้นและไม่เคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนักบุญอย่างเป็นทางการจากพระศาสนจักร…ให้เราหยุดไตร่ตรองสักชั่วครู่หนึ่งพลางรำลึกถึงบุคคลที่เรารู้จักอยู่ใกล้ตัวเราและเชื่อว่าเป็นบุคคลที่ใช้ชีวิตอย่างศักดิ์สิทธิ์จริงๆ…ขอให้ท่านได้เป็นเพื่อนผู้ร่วมเดินทางชีวิตไปสู่สวรรค์และเป็นผู้เสนอวิงวอนเพื่อเราเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าในพระอาณาจักรของพระองค์ ข้อคิด… “มหาบุญลาภ” ที่พระเยซูเจ้าทรงนำเสนอในพระวรสารวันนี้นั้นเป็นคุณภาพชีวิตที่พระองค์ทรงต้องการแลเห็นในบรรดาศิษย์ของพระองค์…และเป็นคุณภาพชีวิตที่ได้ถ่ายทอดออกมาเป็นแบบอย่างในชีวิตของนักบุญทั้งหลายที่เราทำการสมโภชในวันนี้อีกด้วย “มหาบุญลาภ” […]

อ่านต่อ

2020-10-25 ข้อคิดวันอาทิตย์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา ปี A

ข้อคิดวันอาทิตย์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา ปี A มธ22: 34-40…ท่านจะต้องรักองค์พระผู้เป็นเจ้าพระเจ้าของท่าน…และท่านต้องรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง พระวรสารของวันนี้เตือนเราให้คิดถึงพระบัญญัติเอกสองประการคือ“รักพระเจ้าและรักเพื่อนมนุษย์” และในพระบัญญัติเอกสองประการนี้ก็ซ่อนไว้ซึ่งคำสอนทั้งหมดของพระคัมภีร์…ข้อบกพร่องอันสำคัญของเราคริสตชนก็คือข้อบกพร่องในเรื่องของความรัก ข้อคิด…คริสตชนคาทอลิกหลายๆคนคงอยากจะตั้งคำถามว่า“เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องออกห่างจากเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเพื่อที่จะพบพระเจ้าหรืออย่างไร?”…หรือว่ามี“ผู้ที่ได้พบพระเจ้าแล้วยังสามารถกลับไปหาเพื่อนพี่น้องและเจริญชีวิตอยู่ร่วมกับพวกเขาอย่างมีความสุขมีความสนใจเอาใจใส่พวกเขาและทำงานพร้อมๆกับพวกเขาและเพื่อพวกเขาหรือเปล่า?” …หรือพูดง่ายๆก็คือว่า“ความรักต่อพระเจ้าและความรักต่อเพื่อนพี่น้องสามารถไปด้วยกันได้หรือไม่?”หรือว่าถ้า“มีความรักต่อพระเจ้าแล้วก็จะรักเพื่อนพี่น้องไม่ได้?” เรามนุษย์ทุกคนต่างก็ชอบการได้สิ่งต่างๆตามที่ต้องการและชอบความสดวกสบายด้วยกันทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการที่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติหรือความเป็นเจ้าของคนที่เรารักหรือความเป็นเจ้าของสถานที่ที่เราชอบฯลฯส่วนโลกที่เราไม่คุ้นเคยนั้นก็อาจจะกลายเป็นโลกของคนแปลกหน้าและสิ่งแปลกปลอม…โลกของคนที่เราไม่รู้จักนั้นอาจจะขึ้นอยู่กับความชอบหรือความไม่ชอบและความมีอคติของเราด้วยหรือพูดง่ายๆก็คือว่าคนแปลกหน้าที่ว่านี้“พวกเขาก็จะไม่ใช่เป็นคนหนึ่งแต่ในพวกของเรา” ในบทอ่านที่หนึ่งจากหนังสืออพยพเราได้ยินว่าชนชาวอิสราแอลได้รับการคาดหวังว่าพวกเขาจะปฏิบัติตนต่อคนแปลกหน้าอย่างไร…“ท่านจะต้องไม่ข่มเหงหรือรังแกคนต่างชาติเพราะท่านทั้งหลายก็เป็นคนต่างชาติในแผ่นดินอียิปต์” […]

อ่านต่อ

2020-10-18 ข้อคิดวันอาทิตย์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา ปี A

ข้อคิดวันอาทิตย์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา ปี A มธ22: 15-21…ของของซีซาร์จงคืนให้ซีซาร์และของของพระเจ้าก็จงคืนให้พระเจ้าเถิด… เราให้บางสิ่งบางอย่างแด่พระเจ้าแต่พระองค์เดียวเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถให้กับผู้ปกครองของโลกนี้…สิ่งนั้นก็คือ“การกราบไหว้นมัสการ”และนี่แหละที่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงมาชุมนุมกันอยู่ในบ้านของพระแห่งนี้เพื่อกราบไหว้นมัสการพระเจ้าพระผู้สร้างสากลจักรวาลและเจ้านายของทุกสิ่งทุกอย่างแต่เป็นเรื่องเศร้าที่บ่อยๆครั้งเราไม่ได้ให้พระเจ้ามาเป็นอันดับแรกในชีวิตของเรา ข้อคิด…ในพระวรสาร“การเสียภาษีแก่พระจักรพรรดิซีซาร์เป็นการถูกต้องหรือไม่?”…เป็นคำถามที่ศิษย์ของชาวฟาริสีกับคนที่เป็นฝ่ายของกษัตริย์เฮโรดได้ถามพระเยซูเจ้านั้นเป็นคำถามที่ต้องการจะทดลองหรือทดสอบพระองค์ว่าพระองค์จะเลือกอยู่ข้างไหนหรือว่าพระองค์จะอยู่ข้างที่ต่อต้านไม่ยอมเสียภาษีให้พวกชาวโรมันคือชาวฟาริสี  หรือพระองค์จะอยู่ข้างที่ให้ความร่วมมือกับพวกชาวโรมันที่ยอมเสียภาษีให้คือฝ่ายของกษัตริย์เฮโรด  ถ้าพระองค์ทรงตอบว่า“ต้องเสีย” พระองค์ก็จะสูญเสียความน่าเคารพนับถือจากประชาชนและคงจะถูกถือว่าเป็นผู้ทรยศแต่ถ้าพระองค์ทรงตอบว่า“ไม่ต้องเสีย” […]

อ่านต่อ

2020-10-11 ข้อคิดวันอาทิตย์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา ปี A

ข้อคิดวันอาทิตย์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา ปี A มธ22: 1-14…กษัตริย์ให้คนใช้ไปบอกกับผู้รับเชิญว่าบัดนี้เราได้เตรียมการเลี้ยงไว้พร้อมแล้ว…พบผู้ใดก็ตามจงเชิญมาในงานวิวาห์เถิด… ขณะนี้เรามาชุมนุมกันอยู่รอบโต๊ะทานเลี้ยงศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระเยซูเจ้าเราพากันมาอยู่ที่นี่เพราะพระเจ้าได้ทรงเชื้อเชิญเราและพวกเราก็ได้ตอบรับคำเชื้อเชิญของพระองค์…ขอให้เราได้มีจิตสำนึกในการขอบพระคุณพระเจ้าและได้มีจิตใจที่ร่าเริงยินดีที่ได้มาร่วมในพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณนี้ ข้อคิด…ท่านประกาศกอิสยาห์ใช้ภาพลักษณ์ของงานวิวาห์เพื่อที่จะสาธยายความสมบูรณ์ของชีวิตที่พระเจ้าทรงต้องการจะประทานให้กับมนุษย์มิใช่เพียงเฉพาะให้กับชนชาวอิสราแอลเท่านั้นแต่ให้กับทุกๆคนบนโลกใบนี้พระเยซูเจ้าเองก็ทรงใช้ภาพลักษณ์เดียวกันนี้ในเรื่องอุปมาของพระองค์ด้วย…ในการเชื้อเชิญครั้งแรกพระเจ้าได้ทรงทำกับชนชาวอิสราแอลแต่ว่าโดนปฏิเสธดังนั้นพระองค์จึงได้หันไปเชิญคนต่างชาติให้เข้ามาร่วมงานวิวาห์นี้แทน ส่วนในเรื่องของเสื้อผ้าอาภรณ์ที่จะต้องสวมใส่เข้ามาในงานวิวาห์นั้นโดยมารยาทแล้วก็จะต้องให้สมกับงานนั้นๆ…มีคนหนึ่งที่ไม่สวมเสื้อผ้าอาภรณ์สำหรับงานวิวาห์ก็เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานเป็นชีวิตที่มิได้ผลิดอกออกผลแห่งการกลับใจใช้โทษบาปเช่นเดียวกับบรรดาคริสตชนซึ่งเป็นแขกผู้รับเชิญรุ่นใหม่ก็จะต้องพบกับชะตากรรมอย่างเดียวกันกับของชนชาวอิสราแอลเหมือนกันเมื่อพวกเขาเหล่านั้นจะไม่ได้ผลิดอกออกผลแห่งกิจการที่ดีในชีวิตของพวกเขา งานวิวาห์ของกษัตริย์ก็ยังคงเป็นงานเลี้ยงที่วิจิตรพิศดารตระการตาอย่างสุดๆและผู้ที่ได้รับเชิญไปในงานนี้ก็ต้องถือว่าเป็นเอกสิทธิ์และเป็นเกียรติที่พิเศษจริงๆและอาจจะเป็นครั้งเดียวในชีวิต การตอบรับคำเชื้อเชิญอาจจะมีหลายอย่างด้วยกัน […]

อ่านต่อ

2020-10-04 ข้อคิดวันอาทิตย์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา ปี A

ข้อคิดวันอาทิตย์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา ปี A มธ21: 33-43…ในที่สุดเจ้าของสวนได้ส่งบุตรชายของตนไปพบคนเช่าสวน…หินที่ช่างก่อสร้างทิ้งเสียนั้นได้กลายเป็นศิลาหัวมุม…พระอาณาจักรของพระเจ้าจะถูกยกจากท่านทั้งหลายไปมอบให้แก่ชนชาติอื่นที่จะทำให้บังเกิดผล… พระคัมภีร์พระธรรมเก่าได้บอกกับพวกเราว่าพระเจ้าได้ทรงเอาใจใส่ดูแลประชากรของพระองค์เหมือนกับคนสวนที่ดีที่เอาใจใส่ดูแลสวนองุ่นของตนถึงกระนั้นสวนองุ่นก็ไม่ได้ผลิตผลตามที่เจ้าของสวนต้องการ…เราซึ่งเป็นประชากรใหม่ของพระเจ้าเปรียบเหมือนสวนองุ่นที่พระคริสตเจ้าได้ทรงปลูกและเอาใจใส่ดูแลและพระเจ้าทรงเฝ้าดูพวกเราเพื่อให้เราได้ผลิตผลแห่งความยุติธรรมผลแห่งความศักดิ์สิทธิ์และผลแห่งสันติภาพ… ข้อคิด…จากประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติบนโลกใบนี้อาจจะเต็มไปด้วยเรื่องราวของผู้เช่าที่ดีและผู้เป็นเจ้าของที่ชั่วร้ายแต่ในพระวรสารของวันนี้เรากลับได้ยินเรื่องของผู้เช่าที่ชั่วร้ายและผู้เป็นเจ้าของสวนที่ดี นิทานเปรียบเทียบเรื่องนี้เป็นเรื่องอุปมาเกี่ยวกับการที่พระเจ้ามีความเกี่ยวข้องกับประชากรของพระองค์อย่างไร? ผู้เป็นเจ้าของสวนคือพระเจ้าส่วนสวนองุ่นคือชนชาวอิสราแอลหรือโลกมนุษย์และผู้เช่าที่ชั่วร้ายคือผู้นำของศาสนาหรือผู้นำของประเทศชาติแต่ว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือบรรดาผู้นำของศาสนาซึ่งได้รับหน้าที่ให้ดูแลสวนองุ่นของพระเจ้าส่วนพวกคนใช้คือบรรดาประกาศกที่พระเจ้าทรงส่งมาซึ่งบ่อยๆครั้งก็โดนปฏิเสธโดนทำร้ายและโดนฆ่าเสียและบุตรของเจ้าของสวนคือองค์พระเยซูเจ้าซึ่งในที่สุดก็โดนพวกเขาฆ่าเสียที่ไม้กางเขน เช่นเดียวกับอุปมาเรื่องของบุตรสองคนซึ่งเราได้ยินจากพระวรสารของอาทิตย์ที่แล้วอุปมาเรื่องนี้ก็พุ่งเป้าไปที่บรรดาพระสงฆ์ผู้ใหญ่และบรรดาผู้นำของศาสนา…อุปมาเรื่องนี้เป็นคำเตือนของพระเจ้าสำหรับทุกๆคนที่มีตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบในสังคมและในหมู่คณะ…แต่ว่าพวกเขาก็มิได้ใส่ใจที่จะทำหน้าที่ของตนอย่างดีดังนั้นผู้เช่าสวนในที่สุดก็ได้มาถึงจุดจบอันไม่พึงปรารถนา…กรุงเยรูซาเล็มได้ถูกทำลายและบรรดาคนต่างศาสนาคนต่างชาติก็ได้เข้ามาเป็นประชากรของพระเจ้าแทนที่ของชนชาวอิสราแอล “หินที่ช่างก่อสร้างได้ทิ้งเสียนั้นได้กลายเป็นศิลาหัวมุมองค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงกระทำเช่นนั้นเป็นที่น่าอัศจรรย์แก่เรายิ่งนัก” […]

อ่านต่อ

Posts pagination

1 … 24 25 26 … 67

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
  • ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025
Facebook-f Youtube