แทนคิดสะนิด…สะกิดใจ ประเพณีรดน้ำดำหัว ประเพณีรดน้ำดำหัวเป็นพิธีต่อเนื่องจากวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทยเป็นประเพณีที่แสดงถึงความเคารพนบน้อบต่อบิดามารดาผู้ใหญ่หรือผู้มีพระคุณเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีของผู้น้อยและขอขมาลาโทษที่ผู้น้อยอาจเคยล่วงเกินผู้ใหญ่อีกทั้งเป็นการขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองตลอดไปตั้งแต่วันแรกของการเริ่มประเพณีสงกรานต์จนถึงวันสุดท้ายของสงกรานต์ คำว่ารดน้ำดำหัวเป็นคำพูดของชาวเหนือที่จะไปรดน้ำขอขมา(ขอโทษ) ผู้ใหญ่และขอพรจากผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือซึ่งจะมีการอาบน้ำจริงๆคืออาบทั้งตัวและดำหัวคือสระผมด้วยสิ่งที่ใช้สระผมก็จะเป็นน้ำส้มป่อยหรือน้ำมะกรูด การดำหัวในความหมายทั่วไปของชาวล้านนาไทยนั้นหมายถึงการ“สระผม” แต่ในพิธีกรรมโดยเฉพาะในเทศกาลสงกรานต์ของทุกๆปีหมายถึงการชำระสะสางสิ่งอันเป็นอัปมงคลในชีวิตให้วิปลาสปราดไปด้วยการใช้น้ำส้มป่อยเป็นเครื่องชำระจึงใช้คำว่าดำหัวมาต่อท้ายคำว่ารดน้ำซึ่งมีความหมายคล้ายกันกลายเป็นคำซ้อนคำว่า“รดน้ำดำหัว” ประเพณีรดน้ำดำหัวถือว่าเป็นประเพณีที่ดีงามอีกประเพณีหนึ่งที่ประชาชนชาวไทยถือปฏิบัติสืเวลาที่ยาวนานซึ่งการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุหรือญาติผู้ใหญ่บุคคลผู้ที่ตนให้ความเคารพนับถือการรดน้ำดำหัวนั้นจะเป็นการขอโทษขออภัยซึ่งกันและกันที่เคยล่วงเกินกันในปีที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นการล่วงเกินทางกายล่วงเกินทางวาจาหรือว่าการล่วงเกินทางใจทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจต่อหน้าหรือว่าลับหลังก็ตามประเพณีรดนำดำหัวหรือบางครั้งก็เรียกว่าประเพณีปีใหม่เมืองจะมีในระหว่างวันที่13-15 เดือนเมษายนของทุกปีหรือวันสงกรานต์นั่นเอง ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะกระทำกันในวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์เพียงวันเดียวหรือวันเถลิงศกนั่นเองแต่การรดน้ำดำหัวพระสงฆ์นั้นจะมีลักษณะคล้ายๆกันแต่พิธีการรดน้ำดำหัวพระสงฆ์จะมีพิธีการมากกว่าคือก่อนที่จะรดน้ำพระสงค์จะต้องรดน้ำพระพุทธรูปก่อนแล้วจึงค่อยรดน้ำดำหัวพระภิกษุสงฆ์จากนั้นก็รับพรจากพระภิกษุสงฆ์พอเสร็จพิธีก็จะมีการเล่นน้ำกันอย่างสนุกสนานและการรดน้ำดำหัวพระภิกษุนั้นจะทำทุกวัน ประเพณีรดน้ำดำหัว เป็นสิ่งที่ทำต่อเนื่องกันมายาวนานในปีใหม่ไทย เป็นการแสดงความเคารพและความกตัญญูต่อบิดามารดา […]